วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2558

8 เทรนของธุรกิจ E-commerce ในปี 2016

ปี 2015 ที่กำลังจะผ่านไปจัดได้ว่าเป็นปีทองของธุรกิจ E-commerce เมื่อพิจารณาถึงยอดขายที่โตถึง 15% ในสหรัฐฯ (42% ในจีน) ยอดขาย Cyber Monday ของสหรัฐ (และ Single day ของจีน) ที่สูงเป็นสถิติใหม่ ในขณะที่สัดส่วนยอดขาย E-commerce ต่อยอดขายปลีกรวมของสหรัฐอยู่ที่ประมาณ 7.4% แปลว่าตลาด E-commerce ยังมีศักยภาพโตต่อไปได้อีกไกล 8 เทรนต่อไปนี้จะเป็นตัวผลักดันยอดขาย E-commerce ให้โตต่อไปได้ในปี 2016

1. Digital assistant จะเริ่มเข้ามามีบทบาท
ข้อได้เปรียบข้อหนึ่งของการซื้อสินค้าผ่านร้านค้าแบบ Brick and Mortar ที่มีเหนือ E-commerce คือ การที่มีพนักงานขายมาคอยแนะนำสินค้าที่เหมาะสมสำหรับลูกค้าแต่ละราย แต่เมื่อเทคโนโลยี Voice recognition และ AI (Artificial Intelligence) พัฒนาไปในระดับที่สามารถตอบโต้กับมนุษย์ได้ เช่น Siri ของ Apple หรือ M ของ Facebook การค้าขายด้วย AI ก็จะเป็นไปได้มากขึ้น ปัจจุบันบริษัทอย่าง Amazon ก็มีฟังก์ชั่น Digital assistants ที่สามารถแนะนำสินค้าตลอดจนสามารถสั่งซื้อสินค้าผ่าน AI ได้โดยอัตโนมัติ ต่อไปการซื้อของออนไลน์ก็อาจไม่จำเป็นต้องคลิ๊กให้เมื่อยเพราะสามารถซื้อสินค้ากับ AI ได้เลย ชีวิตเริ่มจะเหมือนนิยาย Sci-fi ขึ้นทุกวัน

2. ChatCommerce จะกลายเป็นเรื่องปกติ
เทรนของ Chat แล้ว Commerce ซึ่งเป็นที่นิยมมากในเอเชียจะเริ่มเข้ามามีบทบาทในทั่วทุกแห่งในโลก Wechat ของ Tencent เป็นผู้เล่นรายใหญ่ที่สุดของ ChatCommerce ผู้ใช้ Wechat ไม่ได้ใช้ App เพื่อพูดคุยกับเพื่อนฝูงอย่างเดียว แต่ใช้ Wechat เพื่อสั่งซื้อสินค้าหรือสอบถามกับผู้ขายโดยตรงด้วย ซึ่งเรื่องนี้เราเห็นกับบ่อยๆที่ผู้ซื้อสินค้าดูของจาก Instagram แล้วไปติดต่อผู้ขายผ่าน Facebook message หรือ Line แล้วการค้าขายก็เกิดขึ้นที่นั่น

3. Content กับ Commerce จะผสมปนเปกันจนแยกไม่ออก
ปัจจุบันผู้ประกอบการ E-commerce ไม่ได้ขายสินค้าอย่างเดียวนะครับ พวกเขาเพิ่ม Content ให้กับผู้ซื้อดูไปพลางๆด้วยอย่างเช่น Amazon มีสมาชิกประเภท Prime ที่ไม่ใช่ว่าจะได้ฟรีค่าจัดส่งอย่างเดียว แต่สามารถเข้าไปชมภาพยนตร์ฮอลลิวู๊ดหรือ รายการทีวียอดนิยมได้ฟรีๆอีกด้วย ในขณะที่ผู้ผลิตรายการหรือภาพยนตร์ก็เปิดเวปไซด์ขายของที่ระลึกหรือของเล่นที่เกี่ยวข้องกับรายการของตนควบคู่กันไปด้วย อาจเพราะทั้ง Content และ E-Commerce เป็นสิ่งที่ต้องการให้ผู้บริโภคจดจ่ออยู่กับเวปไซด์ของตัวเองนานๆ พวกเขาก็เลยต้องหาอะไรมาทำให้ตัวเองน่าสนใจและสร้างรายได้

4. Virtual Reality กำลังจะเข้ามาทำตลาด
Virtual Reality เริ่มจะได้รับความนิยมมากขึ้น อย่างเช่น Oculus Rift headset ของ Facebook ซึ่ง Virtual Reality นี้จะช่วยให้ผู้ซื้อสามารถมีข้อมูลในการตัดสินใจได้ดีขึ้นก่อนจะซื้อสินค้า เช่น อาจจะลองเอารูปสินค้ามามโนดูว่าถ้าผู้ซื้อว่าใส่แล้วจะดูเหมาะไหม (เหมือนเราเอาเสื้อที่ชอบมาทาบตัวดูโดยไม่ต้องลองใส่จริง) หรือในอนาคตอาจพัฒนาจนถึงขั้นสามารถจะลองใส่เสื้อผ้าผ่าน Virtual Reality ก่อนตัดสินใจซื้อออนไลน์ได้ อย่างไรก็ดี Virtual Reality นี่ยังอยู่ในช่วงกำลังพัฒนาเท่านั้น แต่ก็คาดว่าจะในช่วงทดสอบในปี 2016

5. Drone ส่งสินค้าจะเกิดขึ้นและไม่ใช่แค่ในสหรัฐ
ในอนาคตอันใกล้ การขนส่งสินค้าจะถูกส่งผ่าน Drone ที่บินส่งของจากโกดังถึงหน้าบ้านได้ แม้ว่าปัจจุบัน Federal Aviation Admistration จะยังไม่อนุญาตให้สามารถขนส่งสินค้าทางอากาศผ่าน Drone ได้ ทั้งๆที่ปัจจุบันเทคโนโลยีของ Drone สามารถทำได้แล้วก็ตาม แต่ในยุโรปและเอเชียอาจจะเกิดขึ้นได้เร็วกว่าหากไม่ติดข้อกฎหมายนี้

6. Amazon จะยังคงครองโลก E-commerce อยู่
Amazon จะยังคงมี Market share เพิ่มขึ้นจากคู่แข่งทั้ง Online และ Offline Forrester พยากรณ์ว่า ยอดขายสินค้าของ Amazon ในปี 2015 จะทะลุ 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นรองแค่ Walmart และ Costco และเชื่อว่าการเติบโตของยอดขาย Amazon จะเติบโตได้มากกว่าการขายแบบ Offline ของสหรัฐ

7. ปุ่ม “ซื้อเลย” (Buy button) จะอยู่ทุกหนทุกแห่ง
ปุ่มซื้อเลย จะย่นระยะการตัดสินใจและเพิ่มความสะดวกในการซื้อสินค้าออนไลน์ได้มากขึ้น ลองนึกว่าถ้าเรา Search Google หาเสื้อสวยๆซักตัวหนึ่ง พอเจอปุ๊บมีปุ่มซื้อที่กดครั้งเดียวสั่งซื้อสินค้า ตัดบัตรเครดิต ได้สินค้าส่งไปถึงบ้านเลยดูสิว่ามันจะยั่วยวนแค่ไหน (สาวๆน่าจะเข้าใจดีกว่าหนุ่มๆ)

8. จุดจบของการขายแบบ Flash Sales จะมาถึง
สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือการขายแบบ Flash sales จะกำลังจะ “Out” (Flash Sales เป็นการขายสินค้า Online แบบที่มีส่วนลดเยอะๆ Pop up ขึ้นมาให้ลูกค้าเห็น โดยการกำหนดเวลาที่สั้นและจำกัดจำนวนสินค้าจะเริ่งให้ผู้ซื้อหน้ามืดตัดสินใจแบบไม่ทันยั้งคิด ส่วนมากจะใช้กับของโล๊ะสต๊อกของสินค้า Brand name ทั้งหลาย) บริษัทยักษ์ใหญ่ด้าน Flash sale กำลังจะถูก Take over หรือไม่เช่นนั้นก็ต้องปลดพนักงานออก

บทความนี้แปล และเขียนเพิ่มเติมมาจาก:

http://www.thestreet.com/story/13404486/1/8-big-e-commerce-trends-to-look-for-in-2016.html

วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เส้นทางชีวิตธุรกิจสื่อสารหลังประมูลใบอนุญาต 4G



การประมูลใบอนุญาตประกอบธุรกิจ 4G บนคลื่นความถี่ 1800 mHz และ 900 mHz จบลงไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อเช้าวันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม 2558 ผู้ชนะการประมูลคลื่นความถี่  1800 mHz Slot 1 AIS (40,986 ล้านบาท) 1800 mHz Slot 2 TRUE (39,792 ล้านบาท) 900 mHz Slot 1 JAS (75,654 ล้านบาท) และ 900 mHz Slot 2 TRUE (76,298 ล้านบาท) รวมเม็ดเงินประมูลทั้งหมด  232,730 ล้านบาท ทำลายสถิติประมูล 4G ของโลกเบี้ยวๆใบนี้ไปเรียบร้อยและผลกรทบต่ออุตสาหกรรมและผู้เล่นทุกรายตามมุมมองของผมเป็นดังนี้

ภาพรวมอุตสาหกรรม
แน่นอนว่าอุตสาหกรรมย่อมต้องมีการแข่งขันสูงมากขึ้น เนื่องจากผู้เล่นรายเดิมๆยังอยู่กันครบ แต่มี JAS น้องใหม่เข้ามาร่วมก๊วนเฮฮาด้วย ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคอย่างแน่นอนเนื่องจากเป็นการเพิ่มทางเลือกให้มากขึ้น แต่การเข้ามาของรายใหม่ย่อมนำมาสู่การแข่งขันที่มากขึ้นทั้งด้านการให้บริการและราคา ทำให้ความสามารถในการทำกำไรของผู้เล่นทั้งหน้าใหม่และหน้าเก่าจึงมีแนวโน้มลดลงอย่างชัดเจนจากค่าตัดจำหน่ายใบอนุญาตที่ประมูลมาราคาแพงลิ่ว เงินลงทุนที่ต้องใช้เพิ่มเติม ดอกเบี้ยเงินกู้ และค่าใช้จ่ายการตลาด ทำให้ผู้เล่นทุกรายจำเป็นต้องรักษาฐานลูกค้าและหาช่องทางสร้างรายได้จากการขายบริการ data เพิ่มขึ้น ซึ่งในด้านนี้ผมไม่ได้เป็นห่วงมากนักเพราะการใช้บริการ data บนมือถือมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเป็น exponential ตามแนวโน้ม Internet of Things ที่เกิดขึ้นทั่วโลกอยู่แล้ว ลองคิดเล่นๆก็ได้ว่าทุกวันนี้เราใช้เวลากับการเล่น Smart phone กี่ชั่วโมงใน 1 วัน ทุกวันนี้เราเล่นมือถือมากขึ้นเรื่อยๆใช่หรือไม่ และนี่ก็คงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ผู้เล่นทั้ง 4 รายยอมกัดฟันประมูลด้วยราคาที่สูงลิ่ว อุตสาหกรรมจะรอดหรือไม่รอดอยู่ที่การขยายตัวของรายได้จากการขายบริการ data บนมือถือเป็นสำคัญ

AIS
AIS เป็นผู้เล่นที่มีความเข้มแข็งมากที่สุดด้วยฐานลูกค้าที่มากที่สุด และกำไรสุทธิปีละกว่า 36000 ล้านบาท ทำให้ทุกคนมองว่า AIS เป็นผู้เล่นที่ได้เปรียบที่สุด แม้ว่าจะพลาดท่าเสียคลื่น 900 mHz ซึ่งมีลูกค้ากว่า 2 ล้านรายไปก็ตาม แต่ผมเชื่อว่า AIS สามารถย้ายลูกค้าบนคลื่น 900 mHz ไปบนคลื่น 1800 mHz และ 2100 mHz ที่มีอยู่ได้ไม่ยากนัก อย่างมากก็ออกโปรโมชั่นแจกมือถือ 4G เครื่องละ 2000-4000 บาทให้ลูกค้าฟรีๆ พร้อมโปรฯเล่น data ฟรีนิดหน่อย ใช้เงินรวมๆ ไม่ถึง 8000 ล้านบาท บวกกับลงทุนเสาโทรคมนาคมที่ต้องติดตั้งเพิ่มหน่อยเพราะคลื่นความถี่ที่สูงขึ้นต้องใช้จำนวนจุดส่งสัญญาณที่มากกว่าก็ไม่น่าเป็นประเด็นมากนักเพราะอยู่ในแผนลงทุนอยู่แล้ว ส่วนปัญหาเรื่องความกว้างของคลื่นว่าจะให้บริการลูกค้าได้ทั่วถึงหรือไม่นั้น ลองใช้ไปดูก่อนถ้าไม่พออีก 3 ปีค่อยไปประมูลเพิ่ม
ความเห็น AIS อาจมีผลกำไรที่เติบโตน้อยลงไปหน่อยแต่ในด้านความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมยังไม่น่าจะมีปัญหา และน่าจะเป็นผู้ชนะในระยะยาวหากผู้บริโภคเริ่มนิยมการใช้ mobile data มากขึ้น

DTAC
DTAC แพ้ประมูลทุกใบอนุญาต ได้รับแรงกดดันมากที่สุดจากทั้งลูกค้าและนักลงทุน เนื่องจากสัมปทานบนคลื่น 850 mHz และ 1800 mHz จะต้องส่งคืนรัฐฯ ในปี 2018 และจะเหลือเพียงใบอนุญาต 1800 mHz ที่เพิ่งประมูลรอบก่อน ทำให้เกิดความกังวลว่าจะสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ผมคิดว่า DTAC อยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบากเพราะลูกค้าจะเริ่มขาดความเชื่อมั่นและย้ายค่าย ไม่รวมถึงนักลงทุนที่เผ่นหนีไปกันก่อนหน้านี้แล้ว อย่างไรก็ดีเม็ดเงินไม่ต้องทุ่มให้ไปกว่า 70,000 ล้านบาทสำหรับการประมูลใบอนุญาตคลื่น 900 mHz สามารถนำมาเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการบนความกว้างระดับ 15 mHz บนคลื่น 2100 mHz ได้อย่างไม่มีปัญหา DTAC อาจปรับกลยุทธ์มา Focus บนลูกค้าระดับบนมากขึ้น เพื่อไม่ให้การจราจรบนคลื่น 2100 หนาแน่นจนเกินไปจนลูกค้ากลุ่มดังกล่าวไม่พอใจ แต่แน่นอนว่า DTAC มีความเสี่ยงจะสูญเสียฐานลูกค้าไปบางส่วนโดยเฉพาะลูกค้าระดับล่าง แต่สถานะทางการเงินของ DTAC หลังการประมูลถือว่ายังมีความเสี่ยงน้อยกว่าคู่แข่งอีก 2 รายอย่าง JAS และ TRUE อยู่มาก โดยเฉพาะฐานกำไรสุทธิต่อปีประมาณ  1 หมื่นล้านบาท ต้องไม่ลืมว่าผู้ถือหุ้นใหญ่ของ DTAC ได้แก่ กลุ่ม Telenor มีการลงทุนในหลายประเทศคงจะประเมินความคุ้มค่าและความเสี่ยงด้านการลงทุนในหลายๆประเทศควบคู่กัน ถึงจะเสีย market share ในตลาดไทยไปแต่ตลาดของประเทศอื่นๆก็ยังเป็นทางเลือกให้ Telenor ได้เสมอ ถ้าถึงที่สุดแล้วสู้ในตลาดไทยไม่ได้จะขายหุ้น DTAC ทิ้งให้คนที่สนใจตอนนั้นก็ยังไม่เสียหายมากนัก
ความเห็น DTAC อาจเสียตำแหน่งผู้ให้บริการเบอร์ 2 ให้กับ TRUE แต่ยังสามารถ Focus บนผลกำไรและความเข็มแข้งทางการเงินเพื่อรอดูการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมเพื่อรอโอกาสกลับเข้าไปเล่นใหม่อีกครั้ง ไม่แน่ว่ารอไปอีกซักปีถึงสองอาจมีมีผู้ชนะประมูลครั้งนี้มาเร่หา Partner เพิ่มทุนให้ก็ได้ใครจะรู้

TRUE
TRUE ชนะการประมูล 2 ใน 4 ใบย่อมคิดการใหญ่ จากปัจจุบันเป็นผู้เล่นอันดับ 3 อย่างน้อยๆก็ต้องตั้งเป้าหมายเป็นอันดับ2 หรืออาจแซง AIS เป็นอันดับหนึ่งเสียด้วยซ้ำ การเป็นผู้ให้บริการที่มีความกว้างของคลื่นมากที่สุด (AIS 30 mHz, DTAC 50 mHz, TRUE 55 mHz และ JAS 10 mHz) ย่อมเป็นประโยชน์อย่างมาก อย่างไรก็ดีสถานะทางการเงินของ TRUE หลังการประมูลจะอ่อนแอลงมาก และน่าจะมีความเสี่ยงจะต้องเพิ่มทุนในระยะเวลาอันสั้น แต่การมีกลุ่มผู้ถือหุ้นที่เข้มแข็งอย่างกลุ่ม CP และ China Moblie ย่อมสามารถเพิ่มทุนและระดมเงินกู้ได้อย่างไม่น่าจะมีปัญหา (China Mobile เป็นรัฐวิสาหกิจของจีนที่มี Market Cap ประมาณ 10  ล้านล้านบาท ใหญ่เกือบเท่า market cap ของหุ้นทุกบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยรวมกัน) กรรมมันจึงจะมาตกอยู่กับรายย่อย เพราะต้องเพิ่มทุนตามกันหน้ามืด เมื่อคิดถึงค่าตัดจำหน่ายใบอนุญาตที่ต้องจ่ายเพิ่มปีละ 7,300 ล้านบาท เทียบกับกำไรปีที่ผ่านมาที่ 1,400 ล้านบาทแล้ว TRUE คงไม่แคล้วต้องขาดทุนไปอีกหลายปีกว่าจะสร้างรายได้เติบโตมาคุ้มทุนใบอนุญาตและเงินลงทุนในอนาคต ส่วนเงินปันผลคงไม่ต้องพูดถึงเพราะไม่มีมานานแล้วและคงจะไม่มีต่อไปอีกหลายปี แต่เถ้าแก่คงจะไม่ซีเรียสมากนักเพราะเงินเย็นและรอได้ยาว ที่อาจเซ็งหน่อยคืออุตสาห์กัดฟันประมูลมาได้ 2 ใบอนุญาตที่ราคาแพงลิ่วหมายจะตัดคู่แข่งให้เหลือแค่ 2 ราย AIS ดันมาถอดใจซะได้ ทำให้นอกจากคู่แข่งจะไม่ลดลงแล้วยังได้ JAS มาเพิ่มอีก
ความเห็น TRUE น่าจะสามารถแย่งตำแหน่งผู้ให้บริการอันดับ 2 จาก DTAC มาได้ แต่เรื่องสถานะการเงินที่น่าจะลำบาก และน่าจะต้องแบกผลขาดทุนไปอีกหลายปี

JAS
JAS น้องใหม่ไฟแรงประมูลได้มาแบบช็อคโลก ในบรรดาผู้ให้บริการทั้ง 4 ราย JAS นี่น่าจะเหนื่อยที่สุดเพราะเริ่มจาก 0 เลย ลูกค้าก็ไม่มี เสาส่งสัญญาณโทรคมนาคมก็ไม่มีซักต้น ต้องลงทุนเครือข่ายสื่อสารให้ครอบคลุมวงกว้างโดยเร็วที่สุดเพราะใบอนุญาตที่ประมูลมาได้มีอายุแค่ 15 ปี ยิ่งลงทุนช้ายิ่งขาดทุน ฐานกำไรจากธุรกิจเดิมต่อปีก็ตกประมาณปีละ 3,000 ล้านเท่านั้น แต่ต้องมาจ่ายค่าตัดจำหน่ายปีละ 5,000 ล้านบาท นี่ยังไม่รวมเงินลงทุนวางเครือข่ายเพิ่มเติมอีกนะ ต้องยกย่องความกล้าหาญของผู้บริหาร JAS มากๆ ที่เข้ามาประมูลด้วยราคานี้ ผมเชื่อว่า JAS คงจะมีแผนธุรกิจแบบเหนือเมฆอยู่ในใจแล้ว เห็นว่าจะแถลงแผนธุรกิจในวันที่ 21 ธันวาคม 2558 ด้านเงินลงทุนอาจจะหาผู้ร่วมทุนรายใหม่จากต่างประเทศ หรืออาจเลือกเป็นพันธมิตรกับผู้เล่นเดิมในตลาด ส่วนเสาส่งสัญญาณก็อาจเช่าเอาจากผู้เล่นปัจจุบันก็ได้ไม่เป็นไร ปัญหาใหญ่คงจะเป็นการสร้างฐานลูกค้าจาก 0 นี่แหละ ถ้าจะแย่งฐานลูกค้าจากรายเดิมก็อาจต้องเล่นสงครามราคาซึ่งจะยิ่งกดดันผลการดำเนินงานของ JAS เข้าไปอีก หากจะแปลงสภาพตัวเองเป็น Infrastructure ให้กับผู้ให้บริการรายอื่นๆผมก็คิดว่า JAS ชนะประมูลมาด้วยราคาที่สูงเกินกว่าจะมาเก็บค่าเช่าอย่างเดียว บอกตรงๆว่าผมยังนึกไม่ออกว่า JAS จะสามารถทำกำไรอย่างคุ้มค่าภายในระยะเวลา 15 ปีได้อย่างไร แน่นอนว่าผู้บริหารย่อมคิดดีแล้วที่ประมูลด้วยราคานี้ แต่ผมยังรู้สึกว่ามันมีความเสี่ยงมากจนเกินไป
ความเห็น JAS น่าจะเข้ามาเป็นผู้ให้บริการอันดับ 4 ซึ่งมีความอ่อนแอในสถานะทางการเงินมาที่สุด การเพิ่มทุนน่าจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ขึ้นอยู่กับว่าจะเพิ่มทุนด้วยวิธีไหน ถ้าหา Partner ที่แข็งแกร่งและมี Expertise มาร่วมด้วยไม่ได้ JAS น่าจะลำบากมากถึงมากที่สุด

TOT และ CAT
เหรียญย่อมต้องมีสองด้าน แม้ว่าการประมูล 4G ที่ผ่านไปจะส่งผลให้การแข่งขันในอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้นเป็นปัจจัยลบต่อผู้ให้บริการ แต่ก็มีคนที่นอนยิ้มรับผลประโยชน์เช่นกัน ในที่นี้คือ TOT และ CAT ต้องไม่ลืมว่า TOT และ CAT เองก็เป็นเจ้าของคลื่นความถี่เช่นเดียวกัน โดย TOT เป็นเจ้าของคลื่นจำนวน 15 mHz บนคลื่นความถี่ 2100 mHz ไปจนถึงปี 2025 ซึ่งปัจจุบันทำสัญญา MVNO (Mobile Virtual Network Operator) กับ Partner หลายราย หาก AIS มีคลื่นไม่เพียงพอในการให้บริการลูกค้าก็อาจมาเป็น Partner กับ TOT ได้ ในขณะที่ CAT ยังเป็นเจ้าของคลื่น 30 mHz บนความถี่ 850 mHz ไปจนถึงปี 2025 ซึ่งปัจจุบันครึ่งหนึ่งให้ TRUE เช่าใช้อยู่ก็อาจจะเอาอีกครึ่งที่เหลือไปแบ่งให้ DTAC ใช้บ้างก็ได้ ซึ่งก็อาจเป็นอีกเหตุผลที่ DTAC ไม่ทุ่มถึงที่สุดที่จะเป็นผู้ชนะการประมูล ด้วยราคาประมูลใบอนุญาต 4G รอบที่ผ่านมาพุ่งขึ้นสูงลิ่ว TOT และ DTAC ย่อมสามารถเล่นตัวโก่งราคาได้มากขึ้นอีกอักโข ไม่ว่าจะเป็นความร่วมมือในรูปแบบใดๆ เพราะสัมปทานของพวกเขาได้รับการ Mark to market เพิ่มขึ้นไปด้วยนั่นเอง
ความเห็น TOT และ CAT รอดักตีหัวคนหนีร้อนมาพึ่งเย็น แบบสบายๆไม่ต้องลงทุนเอง

DIF
DIF (Digital infrastructure fund หรือ TRUEIF เดิม) เองก็ได้ประโยชน์เต็มๆเช่นกัน เพราะการที่คลื่น 900 mHz ไปตกอยู่ในมือผู้เล่นรายใหม่อย่าง JAS ทำให้ JAS ต้องดิ้นรนวางเครือข่ายสื่อสารโดยเร็ว ซึ่งวิธีที่เร็วที่สุดคือขอแชร์ Infrastructure กับคนที่มีอยู่แล้วซึ่งได้แก่ DIF ซึ่งเป็นเจ้าของเสาโทรคมนาคมทื่ซื้อมาจาก TRUE รวมไปถึง TOT ที่รอรับโอนเสาโทรคมนาคมมาจาก AIS ทั้งสองรายนี้นอนลูบปากเรียกค่าเช่าจาก JAS แน่นอน เพราะการจะไปหาพื้นที่ตั้งเสาใหม่ต้องใช้เวลา และใช้เงินลงทุนจำนวนมาก JAS ไม่ได้มีเวลารอได้ขนาดนั้น ในขณะเดียวกัน AIS และ DTAC ซึ่งสูญเสียและกำลังจะสูญเสียคลื่น 850 mHz และ 900 mHz ไปก็จำเป็นต้องเพิ่มจำนวนเสาโทรคมนาคมเพื่อรองรับการให้บริการบนคลื่นความถี่ที่สูงขึ้น ก็อาจพิจารณาทางเลือกในการเช่าเสาจาก DIF หรือ TOT เพื่อความรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายเช่นกัน ผมเชื่อว่า TOT คงจะรีบเคลียร์ข้อพิพาทเรื่องเสาและตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานเสาโทรคมนาคมของตัวเองเช่นกัน ซึ่งในปัจจุบันเสาโทรคมคมยัง Utilize ได้ไม่ถึงครึ่งนึงของ Capacity โดยเฉลี่ย
ความเห็น DIF มีโอกาสได้ลูกค้าเพิ่มขึ้นจากให้ AIS DTAC แล JAS เช่าใช้บริการเพิ่มเติม แต่ก็มีความเสี่ยงจากภาระหนี้สินของ TRUE ที่สูดขึ้นมากอาจทำให้ส่งผลกระทบต่อการจ่ายค่าเช่าตามสัญญาเช่าระยะยาวที่มีอยู่กับ TRUE แต่ถ้าเชื่อว่า TRUE ไม่ Default ปัญหานี้ก็คงไม่หนักหนาเกินไปนัก

กล่าวโดยสรุปผู้เล่นเดิมรวมถึงผู้เล่นใหม่ลำบากกันถ้วนหน้าจากต้นทุนการให้บริการที่สูงขึ้น และการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่สูงขึ้น คาดว่าจะได้เห็นการเพิ่มทุนและความร่วมมือกันในรูปแบบต่างๆเพิ่มขึ้นอีกมาก ซึ่งในอีกด้านหนึ่งก็ดีกับประเทศไทยโดยรวมทั้งในแง่ผู้บริโภคที่จะได้รับการดูแลที่ดีขึ้น ในแง่รัฐบาลที่ได้เงินไปลงทุนเพิ่มเติมกว่า 230,000 ล้านบาท และในแง่ทรัพยากรรวมของประเทศที่ไม่ต้องเสียไปกับการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่มันซ้ำซ้อนกันมานานและอาจดึงดูดเม็ดเงินลงทุนของต่างชาติเข้ามาเพิ่มเติมด้วย

ทั้งหมดที่กล่าวมายาวเหยียดนี้ก็เป็นความเห็นส่วนตัวของผมเอง เขียนขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นด้านการลงทุน ไม่ได้เขียนขึ้นหรืออ้างอิงองค์กรใดๆ และไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คำแนะนำซื้อขายหลักทรัพย์ใดๆทั้งสิ้น ผู้อ่านโปรดใช้ดุลพินิจในการอ่านและตัดสินใจลงทุน

วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Internet of Things: How it has changed the world (Episode 1: Media)


ในบรรดาธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจาก Internet of Things (IoT) คงไม่มีอะไรเกินธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์แบบดั้งเดิม เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร นั่นเพราะ IoT ทำให้เกิดอุปทานบน Cyberspace จำนวนมหาศาลที่สามารถเข้ามาทดแทน มีประสิทธิภาพสูงกว่า และมีอรรถประโยชน์มากกว่าสื่อแบบดั้งเดิมหลายเท่า ด้านผู้บริโภคสื่อเองก็มีพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก พวกเขาต้องการอะไรที่เลือกเอง ไม่ชอบถูกยัดเยียดให้บริโภคจากผู้ผลิตอย่างที่เป็นกันในสมัยก่อน

ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดก็เช่น การเข้ามาของทีวีและวีดีโอออนไลน์ ทำให้ผู้บริโภคสามารถดูละคร ดูหนัง ฟังเพลงจากมือถือได้ทุกที่ ทุกเวลา ด้วยความละเอียดสูงกว่า สามารถเลือกรับชมเฉพาะที่ชอบก็ได้ จะดูละครติดต่อกันคราวละสี่ห้าตอนก็ได้ จะดูซ้ำๆกี่รอบก็ได้ตามใจทั้งหมด รายการที่ให้เลือกดูก็มีได้มากกว่า ทั้งรายการในและต่างประเทศ ไม่มีฉากตัดหรือเซนเซอร์ให้เสียอารมณ์ แถมยังมีของฟรีให้เลือกดูได้ด้วย (ทั้งแบบถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย) หรืออีกตัวอย่างเช่น Application ข่าวสารที่เข้ามาแทนหนังสือพิมพ์และนิตยสาร ที่สามารถพกติดตัวไปพร้อมมือถือได้ทุกที่ ทุกเวลา สามารถติดตามข่าวได้จากหลายแหล่งพร้อมกัน เลือกติดตามเฉพาะเรื่องที่อยากรู้ได้ เลือกติดตามเฉพาะดาราที่ก็ชอบได้ แถมยังสามารถตั้งให้ Alert ได้ทันที อ่านข่าวไหนชอบ Save เก็บไว้อ่านทีหลังหรือไว้อ้างอิงก็ได้ อ่านแล้วชอบจะ forward ต่อให้เพื่อนอ่านทันทีก็ได้

ทางด้านผู้ผลิต Content เองก็ได้รับผลกระทบอย่างหนักเช่นกัน เพราะผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น เด็กๆสมัยใหม่อ่านและฟังภาษาอังกฤษได้ทุกคน เบื่อละครไทย ไปดูซีรี่ย์ฝรั่งก็ได้ เบื่อหนังไทย ไปดูหนังฮอลลิวู๊ดก็ได้ เบื่อเพลงไทย ไปฟังเพลงอินเตอร์ก็ได้ และทุกอย่างสามารถหาได้ใน Internet ซึ่งอยู่บนมือถือที่พกติดตัวไปด้วย พฤติกรรมผู้บริโภคเองก็เริ่มเปลี่ยนไปจากการรับชมรายการวาไรตี้ เกมโชว์ สารคดี ซึ่งถูกนำเสนอโดยดารา เซเลป พิธีกรชื่อดัง ทางทีวี มาเป็นการเสพ Social network อย่าง facebook Instragram และ Twitter มากขึ้น ซึ่ง Content ที่ถูกสร้างขึ้นบน Social network นี้มีจำนวนมากมาย มีความหลากหลายมากกว่า และมีแนวโน้มดึงดูดความสนใจผู้บริโภคได้มากกว่า เนื่องจากมันถูกนำเสนอโดยคนที่เรารู้จัก หรือกำลังสนใจอยู่ (ไม่งั้นจะ add friend หรือ follow ไปทำไม) ลองคิดดูง่ายๆว่าทุกวันนี้เราใช้เวลา ดูทีวี ฟังวิทยุ อ่านหนังสือพิมพ์ หนังสือ หรือนิตยสารรวมกัน แล้วลองเทียบกับเวลาที่เรานั่งจ้องมือถือ เล่นเฟส แช็ทไลน์ อ่านข่าว เล่นเกมดูสิ แล้วจะรู้ว่าผมไม่ได้พูดอะไรผิดไปหรอก

ในด้านบริษัทโฆษณาก็เห็นความได้เปรียบในเชิงแข่งขันที่ชัดเจนของสื่อออนไลน์ ซึ่งสามารถทำให้พวกเขาเลือกจัดสรรเม็ดเงินโฆษณาได้มีประสิทธิภาพกว่า เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้กว้างกว่า และยังสามารถเลือกโฆษณาให้ตรงกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ดีกว่า ทำให้เม็ดเงินโฆษณาไหลออกจากการโฆษณาจากสื่อแบบดั้งเดิมมาเป็นการโฆษณา แบบออนไลน์อย่างชัดเจน ตัวเลขเม็ดเงินโฆษณารวมทั่วโลกในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาเติบโตเฉลี่ยเพียงปีละ 3% ในขณะเม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์เติบโตเฉลี่ยปีละ 15% ในช่วงเวลาเดียวกัน และยังเพิ่มขึ้นในอัตราเร่งอีกด้วย ที่สำคัญคือในอนาคตอันใกล้ผมก็ยังไม่เห็นว่าแนวโน้มที่ว่าจะมีการเปลี่ยน แปลงไปได้ยังไง

ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาทั้งหมดจึงไม่น่าแปลกใจกว่าทำไมธุรกิจสื่อแบบดั้งเดิมถึงอยู่ในขาลงในปัจจุบัน จะลองนับดูจากจำนวนโรงพิมพ์ ค่ายนิตยสาร หรือร้านหนังสือที่ปิดตัวลงก็ได้ หรือจะดูจากผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มสื่อแบบดั้งเดิมก็ได้ แม้เจ้าของสื่อแบบดั้งเดิมบางรายจะผนึกกำลังกับผู้ผลิต Content ที่มีคุณภาพแบบ Exclusive deal เพื่อดึงดูดให้ผู้บริโภคหันมาเสพสื่อแบบดั้งเดิมมากขึ้น แต่ความพยายามเหล่านี้จะไร้ผลในระยะยาว เนื่องจากผู้ให้บริการ Social Network หรือ E-commerce เองก็เริ่มควบรวมกันเองให้ใหญ่ขึ้นและเริ่มผนึกกำลังกับผู้ ผลิต Content ในระดับโลก อย่างที่ Amazon ซื้อกิจการ Washington Post อย่างที่ Google ซื้อกิจการ Youtube หรืออย่างที่ facebook เข้าซื้อกิจการ Instragram และ WhatsApp หรืออย่าง Alibaba ที่ตั้งบริษัท Alipicture และกำลังสนใจจะเข้าซื้อหุ้นของ Paramount Picture และ South China Morning Post สุดท้ายผู้ผลิต Content ชั้นนำจะเลือกจับมือกับสื่อออนไลน์มากกว่าสื่อแบบดั้งเดิมแน่นอน

ธุรกิจสื่อแบบดั้งเดิมจึงจำเป็นต้องรีบปรับตัวเองอย่างเร่งด่วน เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงและสามารถอยู่รอดได้บนโลกใบใหม่ พวกเขาต้องหาโมเดลธุรกิจใหม่ หาช่องทางสร้างรายได้ใหม่ หาพันธมิตรที่แข็งแกร่ง หรือแปลงสภาพตัวเองเป็นหนึ่งในผู้ผลิต Content ระดับแนวหน้าที่สามารถขาย Content ของตัวเองไปได้ทั่วโลก มิเช่นนั้นพวกเขาจะถูกกลืนหายไปในกระแสโลกาภิวัตน์อย่างรวดเร็ว ซึ่งในมุมมองของผมคิดว่าพวกเขาเหลือเวลาปรับตัวอีกไม่มากนัก หรืออาจจะช้าไปแล้วด้วยซ้ำ

แล้วโลกจะเปลี่ยนไปตลอดกาล...

Written by
Indy Investor Forum
6 ธันวาคม 2558

Internet of Things: How it has changed the world (Prologue)

นักลงทุนบางท่านอาจสงสัยว่าทำไมการประมูลใบอนุญาต 4G บนคลื่น 1800 ผ่านมา ถึงได้มีการแข่งขันกับอย่างดุเดือดราคาใบอนุญาตพุ่งไปถึงกว่า 40,000 ล้านบาท และการประมูลใบอนุญาต 4G บนคลื่น 900 ที่กำลังจะประมูลกันในกลางเดือนธันวาคมนี้ก็คาดว่าจะดุเดือดไม่น้อยกว่ากันเท่าไร 4G มันสำคัญขนาดไหน ทำไม่ต้องแย่งกันขนาดนั้น

สาเหตุที่มันสำคัญนักหนาก็เพราะ 4G จะเป็นตัวเชื่อมโยงประเทศไทยเข้าสู่สิ่งที่เรียกว่า Internet of Things (IoT) ซึ่งกำลังเกิดขึ้นทั่วโลก ความหมายของ IoT ก็คือการที่ทุกสิ่งบนโลกที่เรารู้จักจะเกิดขึ้น Online และสามารถเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ทั้งหมด ตั้งแต่ การติดต่อสื่อสาร ธุรกิจบันเทิง ธุรกรรมการเงิน การค้าขายทั้งปลีกและส่ง รวมถึงไปจนถึงเรื่องสุขภาพและธุรกิจการแพทย์ด้วย ความเร็วของการเชื่อมต่อแบบ 4G จะเริ่มทำให้สิ่งไม่สามารถทำได้ในอดีตจะสามารถเกิดขึ้นได้ และถ้าพัฒนาไปถึงระดับ 5G ที่สามารถส่งข้อมูลได้ในระดับ 3.5 GHz ขึ้นไป เกือบทุกสิ่งในโลกคาดว่าจะเกิดขึ้น Online

Internet of thing จะทำให้โลกทั้งใบเปลี่ยนไปอย่างถาวร โลกเก่าๆที่เรารู้จักกันจะไม่กลับมาเป็นเหมือนเดิมอีก การคิดแบบเดิมๆอาจไม่สามารถทำให้เรารอดได้ในโลกยุคต่อๆไป ภาคธุรกิจ นักลงทุน ตลอดจนคนธรรมดาทั่วไปควรเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เข้ากับโลกใบใหม่ที่จะมาถึง เพื่อที่จะสามารถหาประโยชน์จากมันได้ หรืออย่างน้อยก็อย่างให้ถึงกับไม่มีที่ยืนบนโลกก็แล้วกัน บทเรียนของยักษ์ใหญ่อย่าง Olympia Kodak Netscape และ Nokia เป็นบทเรียนที่ดีสำหรับบริษัทที่ปรับตัวไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก

แล้ว Internet of Things มันจะกระทบกับธุรกิจต่างๆ ตลอดจนชีวิตของคนธรรมดาเช่นเรา อย่างไรบ้างล่ะ

...แต่น แต่น แต้น... โปรดติดตามในตอนต่อไป

Written by

Indy Investor Forum

3 ธันวาคม 2558

ตัวตนของตลาดหุ้น

มีข้อถกเถียงกันมากมายว่าการลงทุนในตลาดหุ้นอะไรเป็นปัจจัยชี้ขาดระหว่างคนที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว

บ้างก็ว่าตลาดหุ้นเป็นการประชันมุมมองเศรษฐกิจ ว่าใครจะถูกต้องกว่ากัน
บ้างก็ว่าตลาดหุ้นเป็นการประชันการวิเคราะห์มูลค่า ว่าใครจะแม่นกว่ากัน
บ้างก็ว่าตลาดหุ้นเป็นการประชันการอ่านกราฟ ว่าใครจะเจ๋งกว่ากัน
บ้างก็ว่าตลาดหุ้นเป็นการประชันเทรดอัลกอริทึ่ม ว่าใครจะไวกว่ากัน
บ้างก็ว่าตลาดหุ้นเป็นการประชัน Mind set ว่าใครจะนิ่งกว่ากัน
บ้างก็ว่าตลาดหุ้นเป็นการประชัน Money management ว่าใครจะแน่นกว่ากัน
บ้างก็ว่าตลาดหุ้นเป็นการประชันเงินทุน ว่าใครจะหนากว่ากัน
บ้างก็ว่าตลาดหุ้นเป็นการประชันการใช้ข้อมูลภายใน ว่าใครจะลึกกว่ากัน
บ้างก็ว่าตลาดหุ้นเป็นการประชันดวง ว่าใครจะเฮงกว่ากัน

สำหรับผมแล้วตลาดหุ้นเป็นการประชันวิสัยทัศน์ ว่าใครจะกว้างไกลกว่ากัน

ผมเชื่อว่าคนที่จะประสบความสำเร็จระยะยาวในตลาดหุ้นจะเป็นคนที่มองเห็นแนวโน้มธุรกิจในอนาคตได้ชัดเจนว่าธุรกิจใดจะรุ่งไม่รุ่ง มองเห็นการเปลี่ยนแปลงในอนาคต มองออกว่าบริษัทใดที่จะอยู่รอดและเป็นผู้ชนะในระยะยาว

พวกเขาเหล่านี้จะมองข้ามผลกำไรขาดทุนระยะสั้นระดับไตรมาสออกไป มองข้ามกระแสในตลาดหุ้นระยะสั้นออกไป มองข้ามโอกาสซื้อขายทำกำไรระยะสั้นหรือกระทั่งระยะยาวออกไป หรือกระทั่งมองข้าม Valuation ในระยะสั้นออกไป ไม่ว่าจะเป็นกราฟ อัลกอริทึ่ม ข่าววงในล้วนแล้วแต่ไม่ได้เป็นปัจจัยกำหนดความสำเร็จทียั่งยืนในตลาดหุ้นตามความเห็นของผม

แน่นอนว่ามีนักลงทุนมากมายที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงด้วย การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน เทคนิค อัลกอริทึ่ม money management กำลังภายใน หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่ถ้าจะมีสิ่งที่เศรษฐีหุ้นหรือนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมีเหมือนกันซักอย่างหนึ่งก็คงเป็นวิสัยทัศน์นี่แหละ พวกเขามีจินตนาการมองเห็นอนาคตที่คนทั่วๆไปไม่เห็น พวกเขาเห็นสิ่งที่จะมาในอนาคตก่อนคนทั่วๆไปจะเห็น พวกเขาจึงสามารถลงทุนหรือลงมือทำไปก่อนคนอื่น กว่าคนทั่วๆไปจะมองเห็นโอกาสพวกเขาไปไกลมากแล้วไล่อย่างไรก็ไม่ทัน

สรุปแล้วผมคิดว่าสายมโนเนี่ยแหละเจ๋งสุด 555+

นักลงทุนที่ดีจึงควรเปิดมุมมองตัวเองให้กว้าง เรียนรู้สิ่งใหม่ๆที่อยู่รอบตัวเรา ทั้งที่เกิดขึ้นแล้วและกำลังจะเกิดขึ้น แล้วมองหาโอกาสลงทุนหรือทำธุรกิจด้วยตัวเอง การรอฟังแต่คำแนะนำของกูรูหรือการรออ่านบทวิเคราะห์นั้นไม่สามารถทำให้เราเป็นผู้ชนะในตลาดหุ้นหรือในธุรกิจได้ในระยะยาว เพราะว่าคำแนะนำเหล่านั้นจะมาถึงเราก็แปลว่ามีคนคิดได้และลงทุนก่อนเราไปเยอะแล้ว และถ้าจะมีไอเดียธุรกิจดีจริงๆมาบอกเรา เขาก็คงเอาไปทำเองนานแล้ว

แล้วสำหรับคุณล่ะ ตลาดหุ้นคืออะไร?

Written by

Indy Investor Forum
2 ธันวาคม 2558

ผิดที่สุดคือไม่รู้ว่าผิด


"We didn't do anything wrong, but somehow, we lost..."

"เราไม่ได้ทำอะไรผิด แต่เราก็ยังพ่ายแพ้"

ประโยคอมตะของ CEO ของ Nokia ในวันที่แถลงข่าวขายกิจการโทรศัพท์มือถือให้ Microsoft เมื่อปี 2013

ผม กลับคิดไม่เหมือนกับเจ้าของประโยคนี้ เพราะในความเห็นของผมแล้วสิ่งที่ Nokia ทำผิดพลาดที่สุดก็คือการที่ไม่รู้ว่าตัวเองทำผิดพลาดมาตลอด

ตั้งแต่ ปี 2007 ที่พวกเขาเป็นอันดับ 1 ในตลาดโทรศัพท์มือถือ พวกเขาทำผิดพลาดซ้ำแล้วซ้ำเล่า พวกเขายึดติดกับการเป็นเบอร์หนึ่งจากการขาย Handset โดยมองไม่เห็นความสำคัญของ App base market อย่างที่ Apple และ Google มองเห็น

พวกเขามองข้ามความสำคัญของ Touch screen ซึ่งเป็น function ที่สำคัญมากสำหรับ Smart phone ด้วยเหตุผลที่ว่าฝ่ายพัฒนาของ Nokia คิดว่าผู้บริโภคจะไม่ชอบมัน

พวกเขาพยายามพัฒนา Symbian ที่พยายามทำทุกอย่างเอง แทนที่จะเปิดโอกาสให้นักพัฒนาโปรแกรมทั่วโลกช่วยกันพัฒนาอย่าง app store หรือ android market

พอรู้ตัวว่า OS ของตัวเองไปไม่รอดก็วิ่งไม่ขอร่วมกับ Android ในวันที่ตัวเองแทบไม่เหลือศักดิ์ศรีของยักษ์ใหญ่แล้ว แต่ก็ไม่รู้ตัว พอไม่ได้ดีลที่ตัวเองพอใจก็ปฎิเสธ Android ไปจับมือกับ Window moblie ซึ่งก็พิสูจน์แล้วว่าสู้ ios กับ android ไม่ได้

พวกเขาไม่เคยมอง เห็นคู่แข่งที่มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่ามากจากจีนและอินเดียซึ่งค่อยๆมา แย่ง Market share มือถือในตลาดล่างไปทีละน้อยๆ

ที่ตลกร้ายก็คือผู้ บริหารของ Nokia ไม่เคยสำนึกว่าตัวเองทำอะไรผิดไป ยังคิดว่าตัวเองเป็นยักษ์ใหญ่ที่ทุกคนต้องคอยเอาใจเหมือนในอดีต ราคาหุ้น Nokia ร่วงติดดิน แต่ CEO ก็ยังออกสื่อบอกว่าบริษัทตัวเองไม่ได้มีปัญหาอะไรนักหนาได้หน้าตาเฉย กระทั่งจนนาทีสุดท้ายที่ถูกซื้อกิจการไปพวกเขาก็ยังไม่เข้าใจว่าทำอะไรผิด

Stephen Elop CEO ของ Nokia ในช่วงปี 2010-2013 ได้รับการจัดอันดับจากหนังสือ “Operation Elop” เขียนโดยคอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์ Kauppalehti ใน Finland ให้เป็น "one of the world's worst CEO" จากผลงานการนำพาบริษัทมือถืออันดับ 1 ของโลก ซึ่งจ่ายภาษีให้รัฐบาล Finland ในสัดส่วน 25% สู่ความตกต่ำอย่างรวดเร็วในเวลาแค่ 2 ปี

ในยุคของ Elop รายได้ของ Nokia ลดลง 40% กำไรลดลง 92% ราคาหุ้น Nokia ลดลงจาก EUR 7.12 ในวันที่รับตำแหน่งลงไปเหลือ 1.44 ในสองปีให้หลัง จนกระทั่ง Microsoft มา Takeover ธุรกิจโทรศัพท์มือถือไปนั่นแหละ ราคาหุ้นถึงค่อยๆฟื้นขึ้นมาอยู่ที 7 เหรียญในปัจจุบัน

แต่ที่น่าเจ็บใจที่สุดสำหรับผู้ถือหุ้นของ Nokia คือ ในขณะที่พวกเขานั่งอมทุกข์ทนเห็นราคาหุ้นเตี้ยๆลง ตัว CEO เองกลับมี Compensation ที่สูงถึงปีละ 1.4 ล้านเหรียญสหรัฐ และถ้าจะไล่เขาออกบริษัทต้องจ่ายชดเชยให้เขาสูงถึง 28 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเขาก็ได้รับเงินจำนวนนี้ทั้งหมดในวันที่ Microsoft ซื้อกิจการไป หลังจากโดนซื้อกิจการไปแล้วตัว Elop เองยังได้รับตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงใน Microsoft อีกต่างหาก จนกระทั่งมาโดย Lay off ในเดือนกรกฎาคมปี 2015 นี้เอง

บทเรียนของ Nokia คงจะพอให้อะไรกับเราบ้างว่าธุรกิจไม่มีอะไรยั่งยืน ถ้าไม่โตก็ตาย ตามไม่ทันเพื่อนก็ตาย แข่งขันไม่ได้ก็ตาย ไม่ว่าจะเคยยิ่งใหญ่แค่ไหนก็ไม่มีผล

...ใดใดในโลก ล้วนอนิจจัง...

ที่มา:
http://www.theguardian.com/technology/2014/oct/08/nokia-stephen-elop-operation-new-book

วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

E-commerce vs Modern Trade : Epic battle of millennium (ตอนจบ)




ในตอนที่แล้วผมได้แนะนำให้ผู้อ่านได้รู้จักกับธุรกิจ E-commerce ทั้งประเภท Direct Sale Model (1P) และ Marketplace Model (3P) ไปพอสังเขปแล้ว (สำหรับผู้ที่สนใจอ่านบทความตอนแรกสามารถติดตามได้ที่ (http://indyinvestorforum.blogspot.com/) ตอนนี้เราจะมาเปรียบมวยระหว่าง E-commerce (ขอเรียกสั้นๆว่า E) กับ Modern Trade หรือที่ฝรั่งรู้จักกันในชื่อ Brick & Mortar (ขอเรียกสั้นๆว่า MT แล้วกัน) ว่าดูหน่วยก้านแล้วใครจะได้เปรียบเสียเปรียบอย่างไร โดยวิเคราะห์ตามลักษณะการประกอบธุรกิจ ต้นทุนการประกอบธุรกิจ ข้อจำกัดของธุรกิจ และโอกาสเติบโตในอนาคตต่างๆ ได้ดังนี้

ต้นทุนการลงทุน (Investment cost)

ในเชิงโครงสร้างต้นทุนการลงทุน E ได้เปรียบ MT อย่างเห็นได้ชัด เพราะต้นทุนการดำเนินงานของธุรกิจค้าปลีกแบบโมเดรินด์เทรดจะเป็นที่ดินและค่าก่อสร้าง ในขณะที่ต้นทุนหลักๆของ E ประเภท 3P ต้องการเพียงพื้นที่บน Cyberspace และ Server ที่ดีๆซักหน่อยแค่นั้นเอง หากเป็น 1P อาจมีต้นทุนด้านขนส่งสินค้าเพิ่มเติม ซึ่งหากลองเปรียบเทียบเงินทุนที่ต้องเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับการเพิ่มขึ้นของยอดขายจะเห็นได้ว่า E ได้เปรียบอย่างมากเพราะการขยายสาขาของ MT จำเป็นจะต้องหาทำเล ซื้อที่ดิน ก่อสร้าง และมีต้นทุนการประชาสัมพันธ์ ในขณะที่การเพิ่มผลิตภัณฑ์และช่องทางจำหน่ายของ E ก็แค่เพิ่มประสิทธิภาพและจัดหมวดหมู่ของเวปไซด์ ซึ่งมีต้นทุนที่ต่ำมากจนแทบจะเป็นศูนย์

กรณี 1P model ก็จะต้องลงทุนในโกดัง รถและพนักงานขนส่งเพิ่มเติมตามการขยายของธุรกิจ ซึ่งหากธุรกิจใหญ่ขึ้นก็จะทำให้ต้นทุนที่ต้องการเพิ่มเติมลดลงตาม Economy of scale คิดง่ายๆว่าการทำเลสร้างโกดังและจุดกระจายสินค้าย่อมง่ายและประหยัดกว่าการหาทำเลตั้งสาขา model trade แน่นอน ยิ่งหากพิจารณาถึงแนวโน้มในอนาคตจะยิ่งแตกต่าง เพราะราคาที่ดินโดยเฉพาะที่ทำเลดีๆ และค่าก่อสร้างมีแต่จะสูงขึ้นทุกๆปี ในขณะที่ราคาและประสิทธิภาพของ Hardware มีแต่จะดีขึ้น ความจุมากขึ้น รวดเร็วขึ้น และราคาถูกลงทุกๆปี นอกจากนี้แนวโน้มในอนาคตประสิทธิภาพการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต จำนวนผู้ใช้อินเตอร์และสมาร์ทโฟน จะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับกลุ่ม E เต็มๆ โดยที่ E ไม่จำเป็นต้องลงทุนเองเสียด้วยซ้ำ

ส่วนประเด็นเรื่อง Logistic ก็เช่นกัน ต้นทุนการขนส่งต่อกิโลเมตรมีแนวโน้มจะถูกลงตามการโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลประเทศต่างๆ ซึง E ก็ได้รับประโยชน์จากเงินลงทุนของคนอื่นอีกเช่นเดิม ยิ่งไปกว่านั้นในปัจจุบันมีโครงการขนส่งสินค้าโดยใช้หุ่นยนต์ซึ่งพัฒนาโดย Google ชื่อ Google wing project บินไปส่งถึงหน้าบ้านด้วยระบบ GPS โครงการนี้อยู่ในระหว่างการทดสอบ และ Google คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2017 ถ้าโครงการนี้สำเร็จและสามารถนำใช้งานได้ในวงกว้างจะทำให้ข้อจำกัดด้านการขนส่งของ E แทบจะหมดไปและทำให้ E มีความได้เปรียบเชิงโครงสร้างธุรกิจเหนือว่า MT อย่างมหาศาล

ต้นทุนการดำเนินงาน (Operating cost)

ในเชิงโครงสร้างต้นทุนการดำเนินงาน E ก็ยังได้เปรียบ MT อีกนั่นแหละ ลองดิดดูว่าทุกๆสาขาที่เพิ่มขึ้นของ MT จะต้องมีพนักงานขาย พนักงานบัญชี พนักงานเช็คสต็อก พนักงานทำความสะอาด บางทีก็มีพนักงานส่งของเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ในขณะที่ E แทบจะไม่จำเป็นต้องเพิ่มขึ้นเลยสำหรับ 3P และหากเป็น 1P ก็จะมีพนักงานส่งของ และจัดการสต๊อกเพิ่มขึ้น แต่พนักงานส่วนอื่นๆก็ไม่จำเป็นมากนัก ต้องไม่ลืมว่าค่าแรง เงินเดือน และสวัสดิการพนักงานมีแต่จะสูงขึ้นทุกๆวัน ยิ่งนานวัน E ยิ่งได้เปรียบ

ในด้านประสิทธิภาพการทำโปรโมชั่นและการโฆษณา E ก็ได้เปรียบ MT การทำโปรโมชั่นบนเวปไซด์นั้นมีประสิทธิภาพกว่าการประชาสัมพันธ์ของ MT มาก ทำบนเวปไซด์ตัวเอง ผ่านทาง E-mail หรือ Social network ครั้งเดียวลูกค้าทั้งโลกเห็นเหมือนกันหมด Loyalty program ก็สามารถมาทำได้ง่ายกว่า ลูกค้าไม่จำเป็นต้องพกบัตรสมาชิก สะสมแสตมป์ กระทั่งไม่ต้องบอกรหัสสมาชิก เลขบัตรประชาชนหรือเบอร์โทรศัพท์ ขอเพียง Login เข้าไปซื้อสินค้าทุกอย่างจะอัตโนมัติบนเวปไซด์ แต้มสะสมแสดงบนหน้าจอพร้อมใช้คะแนนสะสมแลกสิทธิพิเศษได้ทันที ประวัติการซื้อสินค้าสามารถเรียกดูย้อนหลังได้ได้ ในแง่นี้ Loyalty ของลูกค้าบนระบบ Online ย่อมสร้างได้ง่ายกว่า

การแข่งขันด้านราคา (Pricing)

เนื่องจากต้นทุนการเนินธุรกิจต่ำกว่ามาก E จึงสามารถเสนอขายสินค้าเหมือนกันในราคาที่ถูกกว่า MT ได้มากเพื่อดึงดูดลูกค้าให้มาซื้อสินค้า online โดยส่วนใหญ่แล้ว E จะเสนอขายสินค้าด้วยราคาที่ต่ำกว่า MT ประมาณ 10-20% ในหลายๆกรณีจะพบว่าผู้บริโภคมักจะเดินดู เปรียบเทียบ ขอคำแนะนำ และทดลองสินค้าที่ MT แต่กลับไปซื้อชิ้นเดียวกันนี้กับ E แทน กลายเป็นว่าการลงทุนทำหน้าร้านและการจ้างพนักงานขายของ MT กลายเป็นหน้าร้านและสนับสนุนการขายให้กับ E ไปเสียอย่างนั้น พฤติกรรมนี้จะพบเห็นได้บ่อยมากในประเทศจีนที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับราคาสินค้าเป็นสำคัญ

ความหลากหลายของสินค้า (Product range)

เนื่องจาก E ไม่มีข้อจำกัดด้านพื้นที่หน้าร้านและสต๊อกของสินค้าตัวอย่างแต่ละสาขาเหมือน MT E จึงสามารถแสดงสินค้าให้ลูกค้าเลือกได้อย่างไม่มีข้อจำกัด โดยปกติจำนวนรายการสินค้าที่เสนอขายผ่าน MT อาจจะมีจำนวนได้มากถึง 5 หมืน ถึง 2 แสน SKU (Stock keeping unit) แต่ E สามารถเสนอขายสินค้าได้มากกว่านั้นมาก เช่น Alibaba สามารถเสนอขายสินค้า online ได้มากถึง 24 ล้าน SKU ในปี 2014 และยังสามารถเพิ่มขึ้นได้แบบไม่มีข้อจำกัด ปัจจุบันสินค้าที่เสนอขายบน E ไม่ได้มีแต่สินค้าชิ้นใหญ่ๆ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าเท่านั้น สินค้าจำพวกกระเป๋า รองเท้า เครื่องสำอางค์ เฟอร์นิเจอร์ อาหารแห้ง ซอส หรือกระทั่ง ผักสดหรือเนื้อสัตว์ ก็มีขาย Online ทั้งนั้น แถมถ้าอยู่ในเมืองใหญ่ๆ เช่น เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง นิวยอร์ก หรือชิคาโก้ ยังมีบริการรับประกันการจัดส่งใน 24 ชั่วโมงด้วย ในแง่ของความหลากหลายของสินค้า E ก็ดูจะกินขาด

ความสะดวกในการเข้าถึง (Accessibility)

ปัจจุบันผู้บริโภคสินค้าทุกชนิดมีแนวโน้มจะชอบความสะดวกสบายมากขึ้น การซื้อสินค้า online สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ 24 ชั่วโมง ระหว่างโดยสารรถไฟฟ้าไปทำงานยืนเซ็งๆก็หยิบมือถือมากดซื้อรองเท้า ทำงาน เบื่อๆก็ยกมือถือมากดซื้อเครื่องสำอางค์ ก่อนกลับบ้านก็ยกมือถือมาซื้อหมูซื้อผักมาเตรียมทำกับเข้า ก่อนนอนก็หยิมมือถือมาดูเห็นเสื้อผ้าลดราคาก็ซื้อแล้วจ่ายเงิน Online พอเช้าวันรุ่งขึ้นสินค้าก็มาส่งถึงหน้าบ้านใส่ออกงานได้พอดี ทุกอย่างง่ายดายกว่าการต้องเดินทางไปห้าง ฝ่าฝนตก รถติด ตบตีแย่งชิงกับกองทัพแม่บ้านเพื่อซื้อสินค้าลดราคาตามงาน Grand sale ต่างๆ มากนัก การตัดสินใจซื้อก็ง่ายมาก แค่กดคลิ๊กสินค้าที่อยากซื้อ กดคลิ๊กอีกทีเพื่อยืนยันการชำระเงิน สองคลิ๊กแค่นี้เองใช้เวลารวมกันไม่เกิน 2 วินาที ถ้าไปซื้อที่ MT ก็ต้องเดินไปแผนกขายสินค้า หยิบของใส่ตะกร้า เดินไปจ่ายเงิน ต่อคิว ควักเงินสดหรือบัตรเครดิตขึ้นมาจ่าย จะเห็นว่ากระบรวนการหลังจากตัดสินใจซื้อไปจนถึงชำระเงินมันหลายขั้นตอน ระหว่างนี้ผู้ซื้อสามารถเปลี่ยนใจได้ตลอดเวลา ในด้านความสะดวกสบาย E ก็ยังได้เปรียบอยู่มาก

ฐานข้อมูลลูกค้า (Customer Data Base)

ผมคิดว่าความได้เปรียบที่มีความสำคัญมากที่สุดของ E ที่มีเหนือกว่า MT อย่างที่เทียบกันไม่ได้ คือ ฐานข้อมูลของลูกค้า MT อาจสามารถเก็บข้อมูลได้ว่าสินค้าชนิดไหนขายดีที่สาขาไหน ในช่วงเวลาไหน มียอดใช้จ่ายต่อบิลเท่าไร แต่ MT ไม่มีทางจะรู้เลยว่าผู้ซื้อสินค้าเป็นใคร อยู่ที่ไหน ซื้อบ่อยแค่ไหน ในทางตรงข้าม E รู้ทุกอย่างที่ MT ไม่รู้ เมื่อคุณ Sign Up และซื้อสินค้าผ่าน E E จะรู้หมดว่าคุณเป็นใคร ชื่ออะไร นามสกุลอะไร อายุเท่าไร เกิดวันไหน อยู่ที่ไหน ชอบซื้อสินค้าอะไร ยี่ห้อไหน ซื้อจำนวนเท่าไร ซื้อเวลาไหน ซื้อแล้วส่งของไปที่ไหน ส่งของให้ใครเป็นคนรับ จ่ายเงินผ่านบัตรเครดิตอะไร ใช้บัตรอยู่กี่ใบ ข้อมูลทุกอย่างจะอยู่ในฐานข้อมูลของบริษัท E ทั้งหมด แถมข้อมูลเหล่านี้ยังได้รับการอัพเดททุกครั้งที่คุณซื้อสินค้าผ่าน E

ข้อมูลลูกค้าเหล่านี้มีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากสามารถนำมาวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อเสนอขายสินค้าและบริการ หรือกระทั่งเสนอโฆษณาที่ตรงใจตอบโจทย์ลูกค้า และจะยิ่งได้เปรียบเมื่อบริษัท E เสนอบริการอย่างอื่นด้วย เช่น บริการด้านการเงิน บริการด้านการลงทุน บริการด้านสุขภาพ เป็นต้น ลองนึกดูว่าบริษัทใหญ่ๆอย่าง Amazon Ebay Alibaba หรือ JD มีฐานข้อมูลของลูกค้าอย่างระเอียดหลักร้อยล้านราย พวกเขาสามารถหาประโยชน์จากมันได้มากแค่ไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบันบริษัท E ก็เริ่มขยายธุรกิจออกไปเสนอบริการด้านต่างๆด้วย ทั้งบริการด้านบันเทิง (Video on demand การจองตั๋วหนัง) บริการด้านการเดินทาง (จองตั๋วเครื่องบิน จองโรงแรม จองรถ) บริการด้านสุขภาพ (Fitness บริการทางการแพทย์)  บริการด้านการเงิน (เงินกู้ส่วนบุคคล ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันภัย) จะมีบริษัทใดที่มีความได้เปรียบด้านฐานข้อมูลลูกค้ามากกว่าพวกเขาอีก ผมยังเกรงอยู่ลึกๆว่าธุรกิจ E จะแปลงสภาพตัวเองเป็นบริษัท Holding company ที่ทำธุรกิจผูกขาดกินรวบไปทุกอุตสาหกรรมในอนาคตอันไกลออกไป

อันที่จริงธุรกิจ MT ก็ยังมีความได้เปรียบอีกในหลายด้าน เช่น ผู้บริโภคมักจะสบายใจกว่าในการซื้อสินค้ากับผู้ขายที่สามารถเจอหน้าเจอตาได้ การให้บริการหลังการขายที่สามารถแก้ไขปัญหาให้ลูกค้าได้ดีกว่า การให้คำแนะนำลูกค้าอย่างเป็นมิตร การ Customize การให้สำหรับลูกค้าแต่ละราย หรือการเสนอบริการเสริมต่างๆหรือการทำโปรโมชั่นที่ไม่ใช้ด้านราคา เช่น การจัดคอร์สอมรมสอนการถ่ายภาพสำหรับบริษัทขายกล้องดิจิตอล เป็นต้น อย่างไรก็ดีผมคิดว่าความได้เปรียบของ MT จะดูมีนัยสำคัญน้อยลงทุกวัน เพราะ E เองก็มีเครื่องมือในการรับมือกับความได้เปรียบของ MT มากขึ้น เช่น การประกันการจัดส่งใน 24 ชม การรับประกันความพอใจคืนเงินได้ใน 7 วันแบบไปรับของถึงบ้าน การจัด rating ของผู้ขาย Online และการเปิดให้ลูกค้าได้ Comment คุณภาพการขาย การจัดส่ง และการให้บริการของผู้ขายแต่ละราย (ในกรณีที่เป็น 3P) เป็นต้น ผมจึงไม่แน่ใจว่าความได้เปรียบของ MT จะยังคงอยู่ในระยะยาวหรือไม่ เมื่อการซื้อของ Online เริ่มเข้ามาสู่ชีวิตประวันของผู้คนมากขึ้น Amazon เปิดเผยว่าพวกเขามีลูกค้าที่เข้ามาคลิ๊กดูสินค้าเป็นประจำกว่า 250 ล้านราย และในจำนวนนี้จะซื้อของ online ผ่านพวกเขาอาทิตย์ละ 1 ชิ้นโดยเฉลี่ย ที่สุดแล้วบางที Modern trade ในวันนี้อาจกลายเป็น Traditional trade ในวันข้างหน้าก็ได้

โดยสรุปแล้ว ผมคิดว่า E-commerce มีความได้เปรียบเหนือ Modern trade พอสมควรดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ในระยะยาวการเติบโตของธุรกิจ E น่าจะโดดเด่นไปอีกหลายปีตามการเพิ่มขึ้นของการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตและการใช้ Smartphone ทั่วโลก รวมถึง Urbanization และการพัฒนาด้านระบบคมนาคมขนส่ง จะเป็นตัวสนับสนุนการเติบโตของ E-commerce โดย Deloitte ได้ทำการประเมินว่าสัดส่วนของ E-commerce ต่อปริมาณการค้าในปัจจุบันอยู่ในสัดส่วน 10% ของการซื้อขายทั้งหมด จะเพิ่มขึ้นเป็น 30% ภายในปี 2025 ซึ่งโดยลักษณะของธุรกิจบน Internet ที่เป็นแบบ Winner take all แล้วเราอาจะได้เห็นบางบริษัทสามารถมีอำนาจเหนือการค้าข้ามพรมแดนทั่วโลกได้ใน 10 หรือ 20 ปีข้างหน้า ซึ่งก็ไม่นานเกินรอที่เราจะได้เห็นกัน

...แล้วโลกจะเปลี่ยนไปตลอดกาล...

ผมไม่ได้พยายามบอกว่าคุณควรจะไปเปิดบัญชีซื้อหุ้นบริษัท E-commerce ในทันที เพราะบริษัท E-commerce หลายบริษัทก็ซื้อขายกันบนความคาดหวังล่วงหน้าไปหลายปี บางบริษัทซื้อขายกันที่ P/E เกิน 100 เท่า บางบริษัทมี Market Cap ใหญ่กว่า ปตท ทั้งๆที่ไม่เคยมีผลกำไรเลยในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา บริษัทที่ดีกับหุ้นที่ดีบางทีมันก็เป็นคนละเรื่องกัน (Good Company ≠ Good stock) และผมก็ไม่ใช่โบรคเกอร์ของคุณ ผมไม่ได้คอมมิชชั่นจากคุณ ไม่ได้มีส่วนกับกำไรหรือขาดทุนของคุณ ที่ผมนำเสนอมาทั้งหมดเป็นเพียงแนวคิดที่ได้จากการสังเกตเพื่อเป็นอาหารสมองสนุกๆเท่านั้น ถ้าใครสนใจจะซื้อหุ้นกลุ่ม E-commerce ก็ควรจะศึกษาธุรกิจเพิ่มเติม และพิจารณาเรื่อง Valuation กันเอาเอง หรืออาจจะปรึกษาโบรกเกอร์ของคุณก็ได้

งานเขียนฉบับนี้เป็นการแสดงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนซึ่งอาศัยข้อสังเกตและประสบการณ์ส่วนตัวในตลาดทุนเท่านั้น ไม่มีงานวิจัยใดๆสนับสนุนแนวคิดดังกล่าวของผู้เขียน ผู้อ่านโปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน อนึ่ง ผู้เขียนแสดงทัศนะในบทความนี้ในเชิงส่วนตัวไม่ได้แสดงความเห็นแทนบริษัท คณะบุคคล มูลนิธิหรือองค์กรใดๆ และไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คำแนะนำการลงทุน หรือเพื่อการซื้อขายใดๆทั้งสิ้น

Written by
Indy Investor Forum
11 พฤศจิกายน 2558

วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

E-commerce vs Modern Trade : Epic battle of millennium (1)



เมื่อประมาณกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา Wal-Mart Stores, Inc. (WMT) ประกาศผลประกอบการไตรมาส 3 ซึ่งสร้างความแตกตื่นให้กับนักลงทุน และทำให้ราคาหุ้นตกลงทันทีที่เปิดตลาดกว่า 10% นี่ไม่ใช่เหตุการณ์ปกติของหุ้นบริษัทค้าปลีกอันดับหนึ่งของโลก สาเหตุเพราะ WMT ประกาศผลประกอบการไตรมาส 3 ต่ำกว่าที่คาดและปรับลดประการยอดขายและกำไรล่วงหน้าไปถึงปี 2020 โน่น เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นเพราะ WMT ได้รับผลกระทบจาการทำธุรกรรมซื้อขายกันแบบ Online ภาพดังกล่าวทำให้เห็นถึงการวัดรอยเท้าของธุรกิจรุ่นน้องจำพวก E-commerce (ขอเรียกสั้นๆว่า E) ที่เข้ามาท้าทายธุรกิจครองโลกรุ่นพี่อย่างเช่น ธุรกิจค้าปลีกแบบ Brick and mortar หรือที่เรียกว่า Modern Trade ที่เรารู้จักกัน  (ขอย่อสั้นๆว่า MT แล้วกัน)

แล้ว E-commerce คืออะไรล่ะ?

E-commerce คือรูปแบบการทำธุรกิจสมัยใหม่ที่ไม่ต้องพิ่งหน้าร้าน ทุกอย่างซื้อขายจ่ายเงินกัน Online บนเวปไซด์ หรือ Application สินค้าก็ส่งถึงบ้าน หลายๆท่านอาจจะคุ้นเคยและมีประสบการณ์กันบ้างแล้วจากเวปดังๆ อย่าง www.lazada.co.th หรือ www.itruemart.com เป็นต้น ก่อนจะเข้าไปเปรียบมวยของ E กับ BM ผมจะขออธิบายในรายละเอียดเสียหน่อยสำหรับผู้ที่ยังไม่คุ้นเคย ธุรกิจได้เข้าใจตรงกัน

ธุรกิจ E-commerce มีด้วยกัน 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

Direct sales model หรือ 1P model

โมเดลนี้ E-commerce จะเป็นผู้ขายโดยตรงให้กับผู้ซื้อ โดยจะซื้อสินค้ามาจากผู้ผลิต มาสต๊อกของไว้แล้วขายให้กับผู้ซื้อผ่านทางเวปไซด์ที่ตัวเองเป็นเจ้าของ โดยการส่งสินค้าให้ผู้ซื้อส่วนมากจะส่งด้วยระบบ logistic ของตัวเองเพื่อเป็นการรับประกันคุณภาพการจัดส่งสินค้า  แต่ก็อาจว่าจ้างบริษัทขนส่งมาจัดการแทนก็ได้ในบางกรณี

รายได้หลักของ 1P จะมาจากยอดขายสินค้าที่ขายได้ และกำไรจะมาจากส่วนต่างของราคาที่ซื้อมากับราคาขายให้กับผู้ซื้อเหมือนอย่างธุรกิจค้าปลีกปกติ โมเดล 1P จะเป็นการตัดพ่อค้าคนกลางทั้งค้าส่ง และค้าปลีก ออกไปจากลูปการกระจายสินค้า ทำให้ประสิทธิภาพการกระจายสินค้าสูงมาก แต่ก็แลกมาด้วยต้นทุนที่ E-commerce จะต้องสร้างโกดัง สต๊อกสินค้าเอง บริหารจัดการ Logistic เองทั้งหมด

ตัวอย่างของผู้ประกอบการที่เน้นโมเดลแบบ 1P นี้ก็เช่น Amazon (AMZ) ของอเมริกา และ JD (JD) ของจีน

Marketplace model หรือ 3P model

โมเดลนี้ E-commerce จะทำหน้าที่เป็นคนกลางให้ผู้ซื้อและผู้ขายมาเจอกัน โดยทำเวปไซด์หน้าร้านให้ผู้ขายหลายๆรายเข้ามาวางสินค้า และให้ผู้ซื้อเข้ามาเลือกซื้อตามอัทยาศัย เปรียบเสมือนเป็นเจ้าของตลาดนัดให้ผู้ซื้อและผู้ขายมาเจอกัน โดยการจัดส่งสินค้าจะเป็นหน้าที่ของผู้ขายที่จะจัดส่งสินค้าให้ผู้ซื้อเองโดยตรง E-commerce อาจมีบริการเสริมช่วยเหลือทั้งผู้ขาย ให้ขายสินค้าง่ายขึ้น เช่น กำหนดหมวดหมู่ของสินค้า ทำโฆษณาสินค้ายอดนิยม หรือสินค้าราคาลดพิเศษ เป็นต้น แน่นอนว่าบริการพิเศษเหล่านี้ย่อมต้องเก็บค่าธรรมเนียมเป็นธรรมดา ในขณะเดียวกันก็อาจปกป้องผู้ซื้อด้วยการจัดระบบ Rating ของผู้ขาย หรือจัดให้มีระบบรับประกันความพอใจ คืนเงินได้ใน 7 วันเป็นต้น นอกจากนี้ E-commerce ยังอาจทำตัวเป็นคนกลางในการชำระเงิน (Settlement agent) เพื่อให้ทั้งผู้ซื้อมั่นใจว่าจ่ายเงินแล้วจะได้ของ ในขณะที่ผู้ขายมั่นใจว่าส่งของแล้วจะได้ตังค์

รายได้หลักของ 3P จะมาจากค่าคอมมิชชั่น และค่าโฆษณา โดยค่าคอมมินชั่นที่เรียกเก็บจากผู้ขายอาจคิดเป็นส่วนแบ่งรายได้ต่อการขายแต่ละครั้ง และค่าวางสินค้าเหมือนที่บริษัทโมเดิร์นเทรดเรียกเก็บค่าแรกเข้าและค่าวางสินค้าบนหิ้งในห้างร้าน ส่วนค่าโฆษณาที่เรียกเก็บจากผู้ขาย อาจอยู่ในรูปแบบการเรียกเก็บแบบโฆษณาปกติที่ Pop-up หรือแป๊ะไว้ตามหน้าจอของเวป ซึ่งอาจเก็บเหมาจ่าย (Advertise cost) หรือเก็บตามจำนวนคนที่คลิ๊กเข้าไปดูสินค้าก็ได้ (Cost per click) หรืออาจมีเรียกเก็บในลักษณะ Keyword Search เช่น ถ้าผู้ซื้อเลือกค้นหาสินค้าประเภทใด ใครจ่ายค่าโฆษณาแบบ Keyword search เยอะจะถูกแสดงขึ้นมาก่อน Keyword Search นี้จะเป็นไปในลักษณะของการประมูล ซึ่งจะการเรียกเก็บในลักษณะนี้เป็นเรื่องปกติของธุรกิจ Search Engine เช่น Google หรือ Yahoo

โมเดล 3P นี้จะทำตัวเป็นคนกลางให้เกิดการซื้อขาย โดยสนับสนุนในด้านต่างๆ และสร้างรายได้จ่ายการให้บริการนั้น เช่น ค่าคอมมิชชั่น ค่าโฆษณา ค่าธรรมเนียมการชำระเงิน ในบางกรณี 3P อาจให้บริการด้าน Logistic ด้วย เช่น มีโกดังในผู้ขายเช่าเพื่อเก็บสินค้าที่จะขาย online หรืออาจเป็นคนจัดหา Logistic partner ให้กับผู้ขายส่งสินค้า หรืออาจให้บริการด้านคำแนะนำเส้นทางการจัดส่งสินค้าให้ Logistic partner เป็นต้น

ตัวอย่างของผู้ประกอบการที่เน้นโมเดลแบบ 3P เช่น Ebay (EBAY)  ของอเมริกา และ Alibaba (BABA) ของจีน

แล้วโมเดลไหนมันดีกว่ากันล่ะ? คำตอบก็คือ ไม่รู้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข

1P มีความได้เปรียบที่สามารถบริการผู้ซื้อได้ดีกว่า เพราะควบคุมเองทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเลือกสินค้ามากจำหน่าย เลือก Supplier ด้วยตัวเอง บริหารสต๊อกและจัดส่งสินค้าด้วยตัวเอง ทำให้ความรวดเร็วในการจัดส่งสินค้าและคุณภาพการบริการลูกค้าสูงกว่า 3P มาก และยังสามารถกำหนดกำไรขั้นต้นของการขายสินค้าเองด้วยเนื่องจากเป็นผู้กำหนดราคาขายเอง ในขณะที่ผู้ซื้อก็มีความมั่นใจมากกว่าที่จะซื้อโดยตรงกับบริษัท E-commerce ซึ่งคัดสรรสินค้าชั้นดีมีคุณภาพมาให้แล้ว ทำให้ 1P มีความได้เปรียบในสินค้าที่มีราคาต่อหน่วยสูง มีความเป็นมาตรฐาน และเน้นคุณภาพ เช่น โทรศัพท์มือถือ เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ เป็นต้น

อย่างไรก็ดี 1P มีข้อเสียเปรียบอย่างมากที่จะต้องใช้เงินทุนจำนวนมากกว่ามากในการสร้างหรือเช่าโกดัง สต๊อกสินค้า บริหารจัดการการขนส่ง มีรถของตัวเอง จ่ายค่าน้ำมันเอง เมื่อเปรียบเทียบกับ 3P ที่เป็นแค่เจ้าของเวปไซด์ เป็นคนกลางเก็บค่าคอมมิชชั่น ค่าโฆษณา และค่าบริการต่างๆ ทำให้ 3P มีข้อได้เปรียบในสินค้าที่หมวดที่มีความหลากหลายมากๆ เช่น สินค้าแฟชั่น เครื่องประดับ และสินค้าอุปโภคบริโภค เป็นต้น

ในความเป็นจริงแล้วบริษัท E-commerce ก็อาจจะดำเนินธุรกิจทั้งสองโมเดลก็ได้ เช่น Lazada ก็มีให้บริการทั้งแบบที่ขายเองโดยตรง และเปิดช่องทางให้ผู้ขายรายอื่นเข้ามาขายเสริม หรือกระทั่งขายแข่งกับตัวเอง เป็นการเพิ่มช่องทางให้กับผู้ซื้อในกรณีที่ตัวเองไม่อยากสต๊อกสินค้าทุกประเภท หรือสต๊อกสินค้าของตนมีจำกัด

จริงๆแล้ว E ยังมีรูปแบบการทำธุรกิจอื่นๆที่แตกต่างออกไปอีก เช่น จองโรงแรม จองตั๋วเครื่องบิน และอื่นๆอีกสารพัด เช่น www.agoda.co.th หรือ www.expedia.co.th เป็นต้น ซึ่งถ้ามีเวลาผมคงจะได้กล่าวถึงธุรกิจที่เรียกว่า online to offline นี้ในโอกาสต่อๆไป

มาถึงตอนนี้ผมได้อธิบายธุรกิจ E-commerce ให้ฟังพอสังเขปแล้ว แล้วอนาคตของสงครามแห่งศตวรรษ ซึ่งเป็นจุด Climax ของบทความนี้ล่ะจะเป็นอย่างไรต่อไป

แต่น แต่น แต้นนนนนนนน

โปรดติดตามในตอนต่อไป นะครัช :P

งานเขียนฉบับนี้เป็นการแสดงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนซึ่งอาศัยข้อสังเกตและประสบการณ์ส่วนตัวในตลาดทุนเท่านั้น ไม่มีงานวิจัยใดๆสนับสนุนแนวคิดดังกล่าวของผู้เขียน ผู้อ่านโปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน อนึ่ง ผู้เขียนแสดงทัศนะในบทความนี้ในเชิงส่วนตัวไม่ได้แสดงความเห็นแทนบริษัท คณะบุคคล มูลนิธิหรือองค์กรใดๆ และไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คำแนะนำการลงทุน หรือเพื่อการซื้อขายใดๆทั้งสิ้น

Written by
Indy Investor Forum
9 พฤศจิกายน 2558

วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ตลาดหุ้น? โรงละครแห่งความฝัน?


เมื่อไม่นานมานี้ผมมีโอกาสได้ให้คำแนะนำนักลงทุนหน้าใหม่ท่านหนึ่ง เขามาปรึกษาเรื่องพอร์ทหุ้นที่กำลังขาดทุนอยู่ ผมลองมองดูพอร์ตของเขาแล้วพบว่าเต็มไปด้วยหุ้นขนาดเล็กที่มี Story ของการเก็งกำไรแฝงอยู่เกือบทั้งหมด สอบถามได้ความว่าได้รายชื่อหุ้นมาจากเพื่อนๆที่เล่นหุ้นแล้วได้กำไรกัน เลยลองมาเล่นตามแต่ตัวเองยังติดดอยอยู่ ผมจึงให้คำแนะนำว่าความถนัดในการเล่นหุ้นแต่ละคนมีความแตกต่างกันมาก ลงทุนหุ้นตัวเดียวกันคนนึงอาจได้กำไรส่วนอีกคนอาจขาดทุนก็ได้ ซึ่งถ้าดูจากพฤติการณ์การลงทุนที่ลองสัมภาษณ์ดูแล้ว ผมเชื่อลึกๆว่าเขาไม่เหมาะกับการเล่นหุ้นเก็งกำไรเอามากๆ น่าจะลองศึกษาแนวทางลงทุนแบบเน้นคุณค่าที่อาจกำไรช้าหน่อยแต่ชัวร์ว่ารักษาเงินต้นไว้และเติบโตอย่างสม่ำเสมอจะดีกว่า จึงแนะนำหนังสือลงทุนด้านคุณค่าให้เขาหลายเล่ม รวมทั้งคอร์สอบรมที่น่าสนใจ ซึ่งเขาก็รับปากว่าจะนำไปศึกษาอย่างถี่ถ้วน

เวลาผ่านไปสองสามเดือน นักลงทุนท่านเดิมกลับมาปรึกษาผมเรื่องติดดอยเหมือนเดิมอีก ผมลองสอบถามพอร์ตหุ้นของเขาพบว่าเปลี่ยนไปมาก แต่ยังคงเป็นพอร์ตลักษณะเดิมที่ยังเน้นหุ้นขนาดเล็กเก็งกำไรอยู่ดี แถมขาดทุนหนักกว่าเดิมอีก ผมจึงสอบถามว่าเหตุใดไม่ลองศึกษาแนวทางลงทุนเน้นคุณค่าดูบ้าง เขาตอบผมว่าถ้าลงทุนแบบกำไรปีละ 10-20% มันจะทำให้เงินลงทุนของเขาโตช้า และไม่พอนำไปใช้จ่ายตามเป้าหมายที่เขาวางเอาไว้ มิสู้ลองลงทุนตามเซียนหุ้นที่รู้จักฝืมือดีกว่า เดี๋ยวเจ้ามือเขาก็ไล่ให้เข้าเป้าเอง ติดดอยแบบเดียวก็หลุด ผมจึงถึงบางอ้อว่าที่แท้แล้วผมผิดเองที่ไม่ได้อธิบายการลงทุนอย่างเป็นขั้นตอนไปตามที่ควร

ความจริงแล้วนักลงทุนหลายๆท่านยังมีทัศนคติต่อการลงทุนในตลาดหุ้นที่ไม่ถูกต้อง ส่วนใหญ่มักคิดแต่ว่าซื้อหุ้นตัวไหนแล้วจะได้กำไรเยอะๆ กำไรเร็วๆ หมุนหลายๆรอบ และเป็นเศรษฐีในช่วงข้ามปี คิดว่าตลาดหุ้นเป็นแหล่งทำเงินที่ได้มาเยอะๆ จากการซื้อหุ้นตามคำบอกถือรอเฉยๆไม่ต้องทำอะไรก็รวยได้ง่ายๆ

ในสายตาของผมบางครั้งตลาดหุ้นก็เหมือนโรงละครแห่งความฝันที่เฝ้าสะกดผู้คนที่อยู่ในตลาดในหลงไปกับความสำเร็จของคนจำนวนน้อยที่ถูกยกย่องให้เป็นแรงบันดาลใจให้กับนักลงทุนหน้าใหม่ “จาก 1 ล้านเป็น 500 ล้าน” หรือ “จาก 10 ล้านเป็น 1000 ล้าน” คนเหล่านี้มีอยู่จริง แต่ก็ไม่ได้มีจำนวนมาก และที่น่าเสียดายก็คือนักลงทุนหน้าใหม่ไม่ได้พยายามไปศึกษาวิธีการลงทุนของพวกเขาเหล่านั้นอย่างลึกซึ้ง กลับคิดง่ายๆแค่ว่า “ถ้าเขาทำได้ เราก็น่าจะทำได้ จาก 1 ล้านเป็น 100 ล้านเองไม่น่าจะยาก คนอื่นเขาทำได้ตั้ง 500 ล้านแหนะ” แต่สิ่งที่โรงละครนี้ไม่ได้ค่อยบอกต่อสาธารณะชน ก็คือความล้มเหลวของนักลงทุนที่เหลืออยู่ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้มีโอกาสออกสื่อเป็นที่ยกย่องเชิดชู จึงอาจไม่รู้ความโหดร้ายของตลาดหุ้นดีพอ คนที่เก็งกำไรในตลาดอนุพันธ์ที่หมดตัวไปก็มีเยอะแยะ

ผมอยู่ในตลาดหุ้นมาเกิน 1 รอบแล้วเห็นผู้คนประสบความสำเร็จด้วยวิธีการที่หลากหลาย แต่ทุกคนที่ผมรู้จักล้วนทุ่มเทให้กับการลงทุน ศึกษาหาความรู้ วิเคราะห์ข้อมูล ฝึกฝนแนวทางการลงทุนของตนจนช่ำชอง อดทนและเรียนรู้ต่อความล้มเหลว มองจากภายนอกวันๆพวกเขาไม่เห็นจะทำอะไร อ่านหนังสือพิมพ์ ดูกราฟ ไปเที่ยวชมโรงงานบ้าง สบายจะตาย ไม่เห็นต้องทำงานหนักๆ เครียดๆ เหมือนงานบริษัทหรือธุรกิจของตัวเองเลย แต่สิ่งที่เราไม่เห็นคือในทุกสิ่งที่พวกเขาทำเหล่านั้นล้วนแต่เชื่อมโยง และเกี่ยวข้องกับการคิด การวิเคราะห์ การตัดสินใจลงทุนแทบทั้งสิ้น

กินก็คิดถึงเรื่องลงทุนว่าอาหารนี้อร่อยดี ร้านไหนขาย อยู่ในตลาดหุ้นไหม

นอนก็คิดเรื่องลงทุน โรงแรมนี้ดี ราคาไม่แพง ลูกค้าเยอะ มีที่ดินขยายได้อีก

เดินก็คิดเรื่องลงทุน ถ้าว่าเห็นสินค้าไหนขายดี ใครเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ เทียบกับสินค้าบนหิ้งข้างๆแล้วเป็นยังไง

ได้ยินก็คิดถึงเรื่องลงทุน ได้ข่าวอะไรมาก็คิดตลอดว่าบริษัทใดได้ประโยชน์ บริษัทใดเสียประโยชน์

ดูกราฟก็จินตนาการอนาคต มองเปรียบเทียบอดีตอยู่ในใจโดยสัญชาติญาณ

ขนาดหายใจยังคิดเลยว่าอากาศบริเวณนี้ไม่ดี อึดอัด สงสัยโรงงานจะมีปัญหาเรื่องควบคุมมลภาวะ น่าจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในปีต่อๆไป

พวกเขามี Passion ในการลงทุนในทุกอย่างที่เขาทำไป ซึ่งแตกต่างกันมากกับนักลงทุนที่ล้มเหลวในตลาดหุ้นที่คิดง่ายๆว่าตลาดหุ้นเป็นแหล่งทำเงินโดยไม่ต้องออกแรง และไม่พยายามฝึกฝน ศึกษาหาความรู้ วิธีคิดวิเคราะห์ในแนวทางของตัวเอง เฝ้าแต่จะหาเซียนหุ้นให้โพย ลอกการบ้าน แล้วหวังว่าเซียนๆเหล่านั้นจะใจบุญสุนทาน แบ่งบันปันหุ้นเด็ด หรือบางครั้งช่วยดันหุ้นให้ตัวเองขายได้กำไรในที่สุด

สำหรับผมแล้วการลงทุนตลาดหุ้นเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง ไม่มีวันสิ้นสุด และที่สำคัญไม่มีทางลัดสู่ความสำเร็จ การก้าวไปอย่างช้าๆในช่วงแรกจะสร้างความมั่นคงในระยะยาวต่อชีวิตของนักลงทุน ความสำเร็จที่ได้มาโดยง่ายในช่วงแรกของการลงทุนจะยิ่งเป็นบาปมหันต์ของการลงทุนในช่วงต่อๆไป เพราะมันจะทำให้เราเชื่อมั่นในความสามารถของตัวเราสูงจนเกินไป และเมื่อความล้มเหลวมาถึง มันก็สายจนเกินไปที่จะมาระลึกถึงความอ่อนด้อยของตนในขณะที่เราสูญเสียเงินลงทุนทั้งชีวิตของเราไปเกือบหมดแล้ว

จึงเรียนมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน

Indy Investor Forum
22 พ.ค. 2558

วันอาทิตย์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2558

ความจริงของ Q.E. (ที่ต้องรู้)



ตลอดเวลากว่า 13 ปีที่ผมได้เรียนและทำงานในการเงินมา ผมได้พบเห็นหลายสิ่งหลายอย่างที่แปลกประหลาดในตลาดทุน แต่ในจำนวนนั้นสิ่งที่เหลือเชื่อที่สุดคือสิ่งที่เราทุกคนรู้จักกันในชื่อ มาตรการ Q.E. ซึ่งย่อมาจาก Quantitative Easing ที่สหรัฐฯ เริ่มใช้เมื่อปี 2009 ก่อนจะตามมาด้วยญี่ปุ่นและคาดว่าจะเป็นยุโรปในปีหน้า ทุกครั้งที่มีการประกาศใช้นโยบาย Q.E. ตลาดหุ้นและสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกก็จะตอบรับในทางบวก ดูได้จากตลาดหุ้นทั่วโลกที่วิ่งขึ้นอย่างบ้าคลั่งตั้งแต่เริ่มมี Q.E. เมื่อปี 2009 นักวิเคราะห์และนักลงทุนส่วนใหญ่ล้วนชอบใจใน Q.E. บางส่วนก็ขอร้องให้สหรัฐฯ และประเทศต่างๆดำเนินนโยบายนี้ไปถึง Q.E. 99 เลยก็ได้

แต่ความจริงมันเป็นเช่นนั้นหรือ? แท้จริงแล้ว Q.E. คืออะไรกันแน่?

ก่อนอื่นต้องขออธิบายความหมายของ Q.E. ให้เข้าใจตรงกันเสียก่อน ในเดือนมีนาคม 2009 ธนาคารกลางสหรัฐฯ (หรือเรียกสั้นๆว่า FED) ต้องการผลักดันเศรษฐกิจสหรัฐฯ ให้พ้นจากการถดถอยหลังเกิดวิกฤติการเงินในปี 2008 ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Hamburger Crisis จึงดำเนินการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และตราสารหนี้ที่ค้ำประกันด้วยสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่สถาบันการเงินต่างๆถือครองอยู่ เมื่อ FED เอาเงินดอลลาร์มาแลกกับกระดาษที่สัญญาจะจ่ายดอกเบี้ยพร้อมเงินต้นในอนาคต นั่นหมายถึง FED กำลังพิมพ์เงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD) ออกมาสู่ตลาดการเงิน และส่งผลให้ราคาตราสารหนี้ทั้งระบบปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งก็ส่งผลให้ผู้ถือตราสารหนี้ทุกคนซึ่งส่วนใหญ่เป็นสถาบันการเงินรวยขึ้นในภาพรวม เมื่อสถาบันการเงินมีความมั่นคงมากขึ้นจากสินทรัพย์ที่มีราคาสูงขึ้นก็จะเริ่มกล้าที่จะปล่อยสินเชื่อให้เม็ดเงินหมุนเวียนในไปสู่มือคนที่ต้องการใช้เงินได้

ในอีกด้านหนึ่ง FED ก็ทำการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายควบคู่กันไปด้วย เพื่อกดดันให้สถาบันการเงินที่ถือครองตราสารหนี้และผู้ฝากเงินที่รับดอกเบี้ยอยู่นำเงินเหล่าออกมาใช้จ่ายหรือลงทุนให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจและผลักดันให้เศรษฐกิจสหรัฐ พื้นตัวได้ FED ดำเนินนโยบายนี้ 3 ครั้ง Q.E.1 (2009) Q.E.2 (2010) และ Q.E.3(2012) รวมแล้ว FED ซื้อตราสารหนี้ (หรือพิมพ์เงินดอลลาร์) ไปทั้งสิ้น 4.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงเวลา 6 ปี ผลจากดำเนินนโยบายนี้อย่างต่อเนื่องทำให้เศรษฐกิจสหรัฐก็ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งมาโดยตลอดและเป็นแบบอย่างให้ประเทศอื่นๆที่ประสบปัญหาเหมือนๆกันอย่างญี่ปุ่นและยุโรปทำตามในช่วงต่อมา

วิธีแก้ปัญหาเศรษฐกิจด้วยวิธีนี้ฟังดูง่ายแค่พิมพ์เงินออกมาเยอะๆเศรษฐกิจก็ฟื้นแล้ว เช่นนั้นแล้วทำไมประเทศต่างๆที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจถึงไม่ทำกันล่ะ ทำไมไทยถึงไม่ทำ Q.E. บ้างเพื่อผลักดันตัวเองออกจากวิกฤติต้มยำกุ้งเมื่อปี 1997 ทำไมอาร์เจนติน่าถึงไม่ทำบ้างเพื่อเอาตัวรอดจากวิกฤติเศรษฐกิจในปี 1999 ทำไมรัสเซียถึงไม่ทำเมื่อเกิดวิกฤตการเงินในปี 1998 คำตอบนั้นง่ายแต่ฟังดูเหลือเชื่อมาก นั่นคือ “ทำไม่ได้”

ลองนึกย้อนไปสมัยที่เรามีวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปี 1997 ประเทศไทยอยู่ในสภาวะใกล้เคียงกับสหรัฐฯ สมัยวิกฤต Hamburger ประเทศไทยขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง ภาคเอกชนมีภาระหนี้สินที่สูง มีการลงทุนและการใช้จ่ายเกินตัว ทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อถือในความสามารถในการชำระหนี้ของประเทศ จึงแห่ถอนเงินกู้ที่ปล่อยให้กับประเทศไทยซึ่งส่วนใหญ่เป็นเงินสกุลเงิน USD ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พยายามเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทจนกระทั่งต้องยอมแพ้ลอยตัวค่าเงินในที่สุด ค่าเงินบาทปรับตัวขึ้นจากระดับที่ตรึงไว้ที่ 25 บาทต่อดอลลาร์เป็น 50 บาทต่อดอลลาร์ในช่วงข้ามคืน บริษัทเอกชนและสถาบันการเงินย่อมไม่สามารถชำระคืนเงินกู้ในสกุลเงิน USD ที่มีมูลค่าสูงขึ้นเป็นเท่าตัวได้ตามสัญญาและประเทศไทยก็เข้าสู่สภาวะล้มละลายในที่สุด

ครั้งนั้นรัฐบาลไทยต้องบากหน้าไปขอกู้ยืมเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ซึ่งมีสปอนเซอร์ใหญ่คือสหรัฐฯนี่แหละ สิ่งที่ IMF บังคับให้เราทำเพื่อแลกกับเงินกู้ คือ รัดเข็มขัด ปิดสถาบันการเงินที่อ่อนแอ ขายสินทรัพย์ที่ราคาต่ำเพื่อชำระหนี้ต่างประเทศให้ครบ ผลก็คือเจ้าหนี้ต่างประเทศสบายแฮเพราะได้เงินต้นพร้อมดอกเบี้ยคืนเป็นส่วนใหญ่ แต่เจ้าหนี้ไทยต้องตัดหนี้สูญลูกหนี้ ในประเทศ สถาบันการเงิน 56 แห่งต้องปิดกิจการ ธุรกิจขนาดใหญ่ กลาง เล็ก ล้มหายตายจาก นักธุรกิจบางคนทำใจไม่ได้ ฆ่าตัวตายไปในระหว่างนั้นก็เยอะ สรุปฝรั่งไม่เจ็บเท่าไรแต่คนไทยลำบากหนัก

ลองนึกกลับกันว่าถ้าวันนั้น ธปท. เลือกจะพิมพ์เงินเหมือนที่ FED ทำบ้างเราจะสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจในขณะนั้นได้หรือไม่ คำตอบคือ “ไม่ได้” เพราะธนาคารแห่งประเทศไทยพิมพ์ได้แต่เงินสกุลบาทเท่านั้น ยิ่งพิมพ์มากค่าเงินบาทก็ยิ่งอ่อน มูลหนี้ซึ่งอยู่ในรูปสกุลเงินต่างประเทศก็เพิ่มขึ้นอยู่ดี และอาจจะทำให้เกิดเงินเฟ้อภายในประเทศซ้ำเติมภาคธุรกิจและการบริโภคที่ย่ำแย่อยู่แล้วเข้าไปอีก ธปท. คิดดีแล้วก็บอกรัฐบาลว่าไปขอกู้ IMF เถอะ ประเทศอื่นๆที่ปัญหาอย่างรัสเซีย เม็กซิโก หรืออาร์เจนตินาก็เป็นแบบเดียวกันหมด

แล้วทำไมสหรัฐฯสามารถทำได้ นั่นก็เพราะเงินสกุลดอลลาร์เป็นสกุลเงินที่ได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวางในการซื้อขายระหว่างประเทศ รวมถึงถูกนำไปใช้เป็นเงินทุนสำรองของประเทศต่างๆทั่วโลก แม้ FED จะพิมพ์ออกมามากเท่าไรก็ไม่ได้ทำให้ความน่าเชื่อถือของสกุลเงินดอลลาร์ลดลงเลยแม้แต่น้อย เพราะทุกประเทศยังคงต้องใช้เงินสกุล USD สำหรับการค้าขายและใช้เป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ดี สังเกตได้จากเมื่อเดือนมีนาคม 2552 ก่อนที่ FED จะดำเนินนโยบาย Q.E.1 ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ (THB/USD) อยู่ที่ประมาณ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ หลังจากจบ Q.E.3 THB/USD ก็ยังอยู่ที่ประมาณ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ USD อ่อนลงไปแค่ประมาณ 6% เท่านั้นเอง ทั้งๆที่ FED พิมพ์เงินออกมาเพิ่มขึ้นจาก 8 แสนล้าน USD มาเป็น 4.5 ล้านล้าน USD หรือเพิ่มขึ้น 462% หลังจากจบ Q.E.3 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2557

เท่ากับว่าตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ดำเนินนโยบาย Q.E. คนอเมริกันรวยขึ้นเมื่อเทียบกับไทย 434% จากการพิมพ์เงินอย่างเดียว ทั้งๆที่ตัวเองก็ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายขาดดุลการค้ามาตลอด มีสถานะเป็นลูกหนี้รายใหญ่ของประเทศต่างๆทั่วโลก แถมยังสามารถจ่ายดอกเบี้ยน้อยลงไปเรื่อยๆอีกต่างหากเพราะอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐที่ออกประมูลใหม่ก็ต่ำลงไปเรื่อยๆ สรุปแล้วชาตินี้ประชาชนอเมริกันไม่ต้องทำมาค้าขายอะไรให้ได้กำไรก็ได้ แค่พิมพ์เงินไปเรื่อยๆ เป็นหนี้ใครก็พิมพ์เงินมาจ่ายคืนหนี้เก่าแล้วก็กู้ต่อ เพดานหนี้สาธารณะก็ขยับขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะไม่มีคนสนใจจะวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของรัฐบาลสหรัฐ ใครคิดจะลดความน่าเชื่อถือรัฐบาลสหรัฐจากระดับสูงสุดก็มักมีอันต้องเกษียณอายุงานก่อนวัยอันควรอย่างที่เห็นๆกันมาแล้ว

สำหรับผมแล้วการทำ Q.E. เป็นการ “ปล้น” ความมั่งคั่งของประชาชนทั่วโลกไปแบบกลางวันแสกๆ ต่อหน้าต่อตา แถมยังบอกให้รู้ล่วงหน้าอีกต่างหาก สิ่งที่สหรัฐฯทำในช่วงที่ผ่านมานี้ถือเป็นการฉีกตำราเศรษฐศาสตร์ทุกฉบับที่พวกเขาเขียนขึ้นมาให้เราเรียน และทำตรงกันข้ามกับสิ่งที่พวกเขาสอนให้เราทำในเวลาเราเกิดวิกฤต บางทีผมก็คิดลึกๆอยู่ในใจว่าตำราพวกนี้ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อหลอกให้ประเทศกำลังพัฒนาเอาไปเรียนเพื่อประโยชน์ของประเทศมหาอำนาจหรือเปล่า

ความจริงข้อนี้เป็นเรื่องนี่น่าเจ็บปวดสำหรับประเทศอื่นๆในโลกที่ได้กำไรจากการค้าขายกับสหรัฐฯ โดยเฉพาะยุโรป ญี่ปุ่น และจีน พวกเขาเข้าใจดีกว่าแม้ว่าเขาจะค้าขายได้กำไรจากสหรัฐฯ เท่าไรก็ตาม สุดท้ายกำไรที่ได้มาก็ต้องไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เพื่อเก็บเงินสกุล USD เป็นเงินทุนสำรองอยู่ดี และไม่ว่าดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ จะต่ำเตี้ยไปจนเหลือ 0% หรือกระทั่งติดลบ พวกเขาก็จำเป็นที่ต้องซื้อมันอยู่ร่ำไป เสมือนกับว่าพวกเขาเป็นประเทศราชที่ต้องส่งบรรณาการให้สหรัฐฯได้ไปบริโภคใช้จ่ายอย่างฟุ้งเฟ้อทุกๆปี

ในที่สุดแล้วประเทศต่างๆเหล่านี้ก็พยายามจะดำเนินนโยบายตอบโต้สหรัฐฯ เช่น ญี่ปุ่นเห็นสหรัฐฯ พิมพ์เงินได้ พวกเขาก็พิมพ์เงินบ้างแต่ที่ไม่เหมือนกันคือเมื่อพวกเขาพิมพ์เงินค่าเยนก็อ่อนฮวบจาก 80 เยนต่อ USD มาอยู่ที่ 120 เยนต่อ USD ในเดือนพฤศจิกายน 2557 อย่างไรก็ดีญี่ปุ่นมีข้อได้เปรียบที่ธุรกิจขนาดใหญ่ของพวกเขามีฐานการผลิตอยู่นอกประเทศ และเน้นการจำหน่ายสินค้าในต่างประเทศ เช่น บริษัทรถยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เมื่อค่าเงินเยนอ่อนก็ทำให้กำไรบริษัทจดทะเบียนเหล่านั้นเมื่อแปลงกลับเป็นสกุลเงินเยนสูงขึ้นและขายสินค้าง่ายขึ้นเพราะราคาสินค้าของผลิตญี่ปุ่นถูกลงเมื่อเทียบกับคู่แข่งทางการค้าอย่างเกาหลีใต้ได้ แปลง่ายๆว่าเยนยิ่งอ่อนบริษัทพวกเขายิ่งได้กำไร

นอกจากนี้การพิมพ์เงินเยนออกมายังจะช่วยทำให้ราคาสินค้า ราคาที่ดิน และราคาหุ้นของญี่ปุ่นที่ซบเซามาหลาย 10 ปีกระเตื้องขึ้น เป็นประโยชน์แก่เศรษฐกิจญี่ปุ่นซึ่งที่เป็นชาติที่ไม่ค่อยยอมใช้เงินถึงแม้ดอกเบี้ยเงินฝากจะอยู่ 0% ก็ยังฝากกัน ถึงขนาดว่านายกรัฐมนตรีชินโซะ อาเบะดำเนินนโยบายนี้จนได้รับการยกย่องว่าเป็นวีรบุรุษกู้เศรษฐกิจญี่ปุ่นในรอบ 30 ปี และมีแนวโน้มจะชนะการเลือกตั้งในเดือนธันวาคม 2557 อย่างถล่มทลายครองความยิ่งใหญ่ในญี่ปุ่นไปได้อีกหลายปี คนญี่ปุ่นช่างสามารถหาวิธีตามน้ำ Q.E. ของสหรัฐได้อย่างสุดยอดสมกับเป็นพันธมิตรกับสหรัฐมากว่า 70 ปีนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2

ฝั่งยุโรปเองเห็นความสำเร็จของสหรัฐ และญี่ปุ่นในด้านการพิมพ์เงินก็อยากทำบ้างเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจฝืดเคืองของกลุ่มประเทศตัวเอง แต่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่สามารถทำได้เพราะธนาคารกลางยุโรปประกอบไปด้วยตัวแทนจากหลายประเทศซึ่งมีความแตกต่างด้านเศรษฐกิจอย่างมาก การทำ Q.E. ของยุโรปอาจทำให้ค่าเงินสกุลยูโรอ่อนค่าลง และกระทบต่อความน่าเชื่อถือของประเทศขนาดใหญ่ที่มีวินัยทางการเงินดีเช่น เยอรมัน ซึ่งก็เป็นประเทศที่คัดค้านการทำ Q.E. มาตลอด แต่สุดท้ายแล้วธนาคารกลางยุโรปก็มีแนวโน้มที่จะทำ Q.E. ในปี 2558 เพียงต่อรอให้เงื่อนเวลา และข้อมูลต่างๆสนับสนุนการดำเนินนโยบายนี้มากขึ้นเท่านั้น

คนที่อยู่ในสถานะทีลำบากที่สุดคงจะหนีไม่พ้นจีน แม้ว่าจีนจะมีเงินทุนสำรองจำนวนมหาศาลและจริงๆแล้วจีนก็สามารถจะพิมพ์เงินออกมาได้โดยไม่กระทบกับความน่าเชื่อถือของค่าเงินหยวนมากนัก แต่การทำเช่นนั้นอาจทำให้สภาวะฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ และภาคธนาคารของจีนกลับมาเป็นปัญหาอีกครั้งหลังจากธนาคารกลางของจีนดำเนินนโยบายควบคุมฟองสบู่มานานหลายปี จีนจึงลังเลที่เดินตามประเทศมหาอำนาจทำ Q.E. อย่างเปิดเผย พวกเขาเลือกที่จะหาแนวร่วมในการต่อต้านการครองโลกทางเศรษฐกิจของสหรัฐด้วยการร่วมมือกับรัสเซีย และประเทศคู่ค้าของพวกเขาในการปฏิเสธการใช้เงินสกุล USD เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า และเรียกร้องให้ประเทศต่างๆในโลกสำรองเงินทุนในรูปสกุลเงินหรือสินทรัพย์อื่นๆ บ้างรวมถึง เงินสกุลหยวนและทองคำ เพื่อลดอิทธิพลของเงินสกุล USD ในตลาดการเงินโลก พร้อมกันนี้พวกเขาก็พยายามเปิดเสรีทางการเงินให้เงินสกุลหยวนมีอิสระมากขึ้นเพื่อให้เงินสกุลหยวนเป็นสกุลเงินที่ถูกใช้อ้างอิงกว้างขวางขึ้นในอนาคต ดังเห็นได้จากการเปิด Trade link ระหว่างตลาดหุ้นจีนที่เซี่ยงไฮ้และตลาดหุ้นจีนในฮ่องกงให้สามารถไปมาหาสู่กันได้มากขึ้น ในอนาคตจีนเองก็คงจะอยากเป็นอย่างสหรัฐที่สามารถกำหนดความเป็นไปของเศรษฐกิจโลกได้ด้วยตัวเองบ้าง เมื่อพวกเขาพร้อมและมีอำนาจทางทหารมากพอ

ก็คงจะเหลือแต่ประเทศเล็กๆอย่างเราๆนี่แหละที่ไม่สามารถจะทำอะไรได้ต้องปล่อยให้ทุกอย่างไปตามเกมของผู้มีอำนาจ เพราะถ้าหือขึ้นมาเดี๋ยวจะถูกประเทศมหาอำนาจกดดันทั้งด้านเศรษฐกิจและด้านการทหาร เพราะอย่างที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าใครมีกำลังทหารมากกว่าสามารถกำหนดความเป็นไปของประเทศที่มีอำนาจทางทหารด้อยกว่าทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ถ้าไม่เชื่อลองไปถามอิรักดูก็ได้ และถ้าสังเกตดูดีๆจะเห็นว่าสัญลักษณ์ของประเทศสหรัฐที่เป็นรูปนกอินทรี ในอุ้งเท้าทั้งสองของอินทรีด้านหนึ่งจะกำช่อมะกอกซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่งของคนสหรัฐ และอีกด้านนึ่งจะกำธนูซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจทางทหาร นั่นหมายความว่าคนสหรัฐเขาเข้าใจความสัมพันธ์เรื่องอำนาจทหารและอำนาจทางเศรษฐกิจมาตั้งแต่ ปี 1782 แล้ว และพวกเขาก็ถือครองความเข้มแข็งในสองด้านนั้นตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นม

ในฐานะที่ผมเองก็เป็นนักลงทุนคนหนึ่งซึ่งก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่าได้รับประโยชน์จากราคาสินทรัพย์ที่ปรับตัวสูงขึ้นไม่ว่าจะเป็นหุ้น หรืออสังหาริมทรัพย์พอสมควรในช่วงที่ผ่านมา และถ้ายุโรปหรือจีนทำ Q.E. เพิ่มขึ้นผมก็คงจะได้ประโยชน์อีกนั่นแหละ แต่ก็อยากจะเขียนบทความนี้ขึ้นมาเพื่อเตือนใจผู้อ่านว่าเราในฐานะประเทศเล็กในตะวันออกไกลกำลังอยู่ในจุดใดของเกมชิงอำนาจของประเทศมหาอำนาจต่างๆ และไม่ถูกล่อลวงไปด้วยมายาของเกมการเงินซึ่งประเทศผู้เขียนหนังสือเรียนทางเศรษฐศาสตร์ให้พวกเรานั่งท่องเอาตำราเรียนเหล่านั้นมาปั่นหั่วหลอกกินความมั่งคั่งเราได้ตลอดไป

งานเขียนฉบับนี้เป็นการแสดงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนซึ่งอาศัยข้อสังเกตและประสบการณ์ส่วนตัวในตลาดทุนเท่านั้น ไม่มีงานวิจัยใดๆสนับสนุนแนวคิดดังกล่าวของผู้เขียน ผู้อ่านโปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน อนึ่ง ผู้เขียนแสดงทัศนะในบทความนี้ในเชิงส่วนตัวไม่ได้แสดงความเห็นแทนบริษัท คณะบุคคล มูลนิธิหรือองค์กรใดๆ ทั้งสิ้น

Written by
Indy Investor Forum
14 ธันวาคม 2557