วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556
วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556
Survival of the Fittest
วันนี้ก่อนกลับบ้านไปนั่งกินข้าวรอฝนหยุดตกในร้านอาหารแห่งหนึ่ง ได้ยินน้องๆโต๊ะข้างๆคุยกันเรื่องหุ้นแบบเซ็งๆกันอยู่ 3-4 คน ติดดอยสูงบ้าง ถัวจนเงินหมดบ้าง ยอมขายตัดขาดทุนหนักๆบ้าง
ต่างคนต่างเต็มไปด้วยอารมณ์หดหู่กันคนละแบบ
แต่ที่เหมือนกันอย่างนึงคือ ทุกคนบอกว่าหุ้นที่ถือเป็นหุ้นพื้นฐานดี เดี๋ยวราคาก็กลับมาให้ขายกำไร ทั้งๆที่บางตัวผมฟังชื่อแล้วก็นึกขำอยู่ในใจ มันพื้นฐานดีในมุมไหนกันนะ
ในฐานะที่ผมเคยผ่านวิกฤติปี 2008 มา (ไม่ทันปีวิกฤติปี 1997 เพราะยังเรียนหนังสืออยู่) ขอแชร์ประสบการณ์ที่เคยผ่านช่วงหนีตายตอนวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์เล็กน้อยให้น้องๆหน้าใหม่ที่เพิ่งเข้าตลาดหุ้นมาไม่นาน (ส่วนที่เซียนแล้วก็ขอให้ข้ามไปเลย บทความนี้ไม่มีความสำคัญอะไรกับท่าน)
นี่เป็นข้อสรุปของประสบการณ์ในตลาดหุ้นกว่า 10 ปีของผม
ในตลาดหุ้นปกติ นักลงทุนจะมองหาหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีกำไรเติบโตต่อเนื่องและราคาไม่แพงเพื่อลงทุน
ในตลาดหุ้นกระทิง นักลงทุนจะมองหาหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐาน มีกำไรเติบโตต่อเนื่อง แต่อาจมองหุ้นเรื่องราคาถูกหรือแพงไป เพราะในตลาดกระทิงหุ้นทุกตัวมันก็แพงหมดเมื่อเทียบกับตัวมันเองในอดีต นักลงทุนมักจะเปรียบเทียบมูลค่าหุ้นกับคู่แข่งในอุตสาหกรรมบ้าง หรือเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยตลาดในขณะนั้นบ้าง เพื่อหาเหตุผลมาสนับสนุนการซื้อหุ้นของตนเอง
ไม่ว่าหุ้นที่ตัวเองซื้อจะมี P/E 20 เท่า หรือ P/E 25 เท่า นักลงทุนก็ยังบอกว่าถูก เพราะดูสิค่าเฉลี่ย P/E ของหุ้นในอุตสาหกรรมอยู่สูงถึง 35 เท่า หุ้น P/E 20 เท่า เทียบกับกำไรเติบโต 20-30% ต่อปีนับว่าถูกมาก (โดยไม่สนว่ามันจะโต 20-30% ต่อปีตลอดไปหรือไม่) คนที่ลังเลว่า P/E สูง หรือราคาหุ้นขึ้นจากจุดต่ำสุดในอดีตมากๆ ก็จะกลายเป็นไดโนเสาร์ ตกขบวนไปโดยปริยาย
แล้วในตลาดหมีล่ะ คุณคิดว่านักลงทุนจะทำอย่างไร
นักลงทุนก็คงจะหาหุ้นที่มีพื้นฐานดี กำไรสม่ำเสมอ มีหนี้สินน้อย และเข้าซื้อในราคาที่ไม่แพงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยตัวเองในอดีต หรือค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมเพื่อรอให้ราคาหุ้นกลับเข้าสู่มูลค่าที่แท้จริงละมั้ง
เปล่าเลย ความจริงมันโหดร้ายกว่านั้นมาก
ในตลาดหมีโดยสมบูรณ์ นักลงทุนจะมองข้ามปัจจัยพื้นฐานทั้งหมด ไม่ว่าเป็นกำไรสุทธิ กระแสเงินสด ความแข็งแกร่งทางการเงิน หรือ Valuation นักลงทุนจะเทขายหุ้นไปตามอารมณ์ของเขาจนกว่าเขาจะพอใจ ไม่ว่าหุ้นพื้นฐานดี จะมีราคาถูกแค่ไหน P/E 10 เท่า 8 เท่า หรือ 6 เท่า เขาก็จะขายจนกว่าเขาจะรู้สึกว่ามันปลอดภัย และเมื่อทุกคนรู้สึกว่าปลอดภัยตลาดก็จะหยุดตก
ในปี 2008 ผมเคยเห็นหุ้นพื้นฐานดีซื้อขายกันด้วย P/E 2-5 เท่าอยู่เยอะแยะ นักลงทุนที่เน้นปัจจัยพื้นฐานเข้าซื้อหุ้นที่ P/E 6-8 เท่า ก็อาจขาดทุนได้ถึง 30-50% โดยที่เขาไม่เข้าใจว่าราคามันลงไปได้อย่างไรต่ำขนาดนั้น จนกระทั่งผลประกอบการไตรมาสต่อๆมาจึงเฉลยว่าหุ้นที่เขาถืออยู่ P/E พุ่งจาก 6-8 เท่าไปเป็น 12-16 เท่า เพราะกำไรของบริษัทที่ถือหุ้นอยู่มันหายไปครึ่งหนึ่ง
อย่างไรก็ดีหุ้นพื้นฐานดีก็คือหุ้นพื้นฐานดี สุดท้ายแล้วหุ้นเหล่านั้นก็สามารถกลับมายืนซื้อขายด้วยราคาที่่สูงกว่าเดิมเกือบทั้งหมด บางตัวในกลุ่มนั้นกลับมาซื้อขายด้วย P/E 40-50 เท่า เมื่อต้นปีที่ผ่านมาเสียด้วยซ้ำ
บทเรียนที่ผ่านมาของผมมันบอกอะไรเรา
บทสรุปของคำแนะนำของผมก็คือ
ถ้าคุณเป็นนักลงทุนเน้นคุณค่าจริงๆ คุณต้องทำการบ้านให้หนัก ดูให้ออกว่าตัวไหนเป็นหุ้นพื้นฐานดี ตัวไหนเป็นหุ้นเก็งกำไร ตัวไหนเป็นหุ้นตามกระแส แล้วเลือกซื้อจะเฉพาะหุ้นพื้นฐานดีจริงๆเท่านั้น ที่สำคัญคุณต้องทำการบ้านด้วยตัวเองอย่างละเอียดว่าอนาคตของกำไรแต่ละบริษัทจะเป็นอย่างไร ธุรกิจของบริษัทนั้นๆอยู่ในช่วงใดของวัฎจักรธุรกิจ (Bussiness cycle) กำไรบริษัทไม่ใช่สิ่งที่จะเพิ่มขึ้นได้ทุกปี ปีละ 30-40% ตลอดไป ทุกธุรกิจมีรุ่งเรืองมีล่มสลายไม่มีใครมีหนีพ้น สุดท้ายคุณต้องเข้าใจว่านักลงทุนในตลาดอาจคิดไม่เหมือนคุณ และเทขายทุบหุ้นดีๆของคุณให้ตกไป 50-60% จากจุดที่คุณซื้อได้ แม้ว่าคุณจะคิดว่ามันเป็นขายแบบไร้เหตุผลก็ตาม เพราะในตลาดหมีไม่ค่อยมีใครมาดูปัจจัยพื้นฐานแข่งกับคุณหรอก
บางคนอาจแย้งผมว่า VI เทพๆ อย่าง Warren Buffet หรือ ปรมจารย์ VI ท่านอื่นถือหุ้นได้ยาวนาน 5-10 ปี แบบไม่ขายได้ คุณต้องไม่ลืมว่าปรมจารย์เหล่านั้นเข้าซื้อหุ้นที่ตีนดอย ไม่ได้มาไล่ซื้อที่ยอดดอย พวกเขารู้ว่าในวัฎจักรของหุ้นราคาไหนเรียกถูก ราคาไหนเรียกแพง พวกเขารอที่จะซื้อหุ้นได้เป็นปีๆถ้าราคาหุ้นไม่อยู่ในระดับที่น่าสนใจ จุดสำคัญมันอยู่ที่ราคาที่เข้าซื้อ ไม่ได้อยู่ที่ว่าถือทนแค่ไหน ถ้าคุณซื้อที่แพงแล้วโอกาสกำไรของนักลงทุนแบบ VI จะลดลงไปมากเลยทีเดียว
ถ้าคุณเป็นนักลงทุนแบบตามกระแส คุณต้องดูให้ออกว่าตลาดกำลังอยู่สภาวะไหน ปกติ กระทิง หรือหมี เลือกลงทุนเฉพาะหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี ที่อยู่ในกระแสในสภาวะตลาดปกติหรือกระทิงเท่านั้น ให้ความสำคัญกับ Valuation น้อยกว่าการอ่านอารมณ์ตลาด ที่สำคัญที่สุด ห้ามซื้อหุ้นในสภาวะตลาดหมีโดยเด็ดขาด ไม่ว่าราคาหุ้นจะตกลงไปต่ำหรือถูกขนาดไหนก็ตาม อย่าลืมว่านักลงทุนแบบตามกระแสซื้อหุ้นเพราะหวังจะขายให้คนนักลงทุนอื่นที่อยากซื้อต่อในราคาที่สูงกว่า ไม่ได้ซื้อหุ้นเพราะราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง อย่ากลัวที่จะไล่หุ้นในภาวะตลาดกระทิง และหากจำเป็นที่จะต้องขายตัดขาดทุนในภาวะตลาดที่มั่นใจว่ามันเป็นหมี จงอย่าลังเลที่จะทำ ยิ่งตัดใจช้า ก็ยิ่งขาดทุนมาก อย่าเป็นประเภทที่ว่าตอนซื้อก็ซื้อตามกระแส พอหุ้นตกกลายสภาพเป็น VI ถือยาวซะงั้น เพราะที่ผมเห็นส่วนใหญ่จะไม่รอด
ผมบอกคุณไม่ได้หรอกว่าตลาดปัจจุบันมันเป็นหมีหรือกระทิง มันเป็นงานของนักวิเคราะห์กลยุทธ์ของบริษัทหลักทรัพย์ที่ท่านใช้บริการอยู่ต่างหากที่จะแนะนำท่านว่าควรซื้อหรือขายตอนนี้ เพราะอะไร คุณจ่ายค่าคอมมิชชั่นให้พวกเขาแล้ว ก็จงใช้พวกเขาให้คุ้ม ผมไม่ได้อะไรจากพวกคุณ จึงให้ได้แค่การแบ่งปันประสบการณ์เท่านั้น ที่สำคัญผมไม่เคยคิดว่าตัวเองเก่งกาจหรือเหนือชั้นกว่าใครๆ ก็แค่นักลงทุนธรรมดาๆที่เก็บเกี่ยวประสบการณ์ไปเรื่อยๆเท่านั้น
ขอให้ทุกท่านโชคดี
ปล. ภาพประกอบไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบทความ
วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556
ทองสี่เหล่า
มีคำถามเรื่องเกี่ยวกับ Demand ทองเข้ามาค่อนข้างเยอะ เลยเอาเกร็ดความรู้เกี่ยวกับ Demand ของทองคำมาฝากกัน
ผู้เชี่ยวชาญแบ่งความต้องการใช้ทองคำหลักๆออกเป็น 4 กลุ่ม
1. กลุ่ม Jewellery เป็นกลุ่มที่ต้องการใช้ทองคำจริง เพื่อการนำไปทำเป็นเครื่องประดับเพื่อจำหน่ายทำกำไรอีกที ความต้องการกลุ่มนี้จะขึ้นอยู่กับความนิยมของสินค้าของตน เช่น สร้อยคอ แหวน กำไรข้อมือ เป็นต้น ส่วนราคาทองจะขึ้นจะลงถ้าของยังขายได้ก็ต้องซื้ออยู่ดี ไม่งั้นก็ต้องไปประกอบอาชีพอื่น แต่ส่วนมากจะไม่ค่อยตุนทองไว้นานเพราะกำไรของกลุ่มเหล่านี้อยู่ที่มูลค่า เพิ่มของชิ้นงานที่ผลิต ไม่ได้อยู่ที่การเก็งกำไรทอง ส่วนมากเครื่องประดับทองเหล่านี้ตลาดสำคัญอยู่ที่ประเทศในเอเชีย เช่น จีน ฮ่องกง อินเดีย
2. กลุ่ม Technology เป็นอีกกลุ่มที่ต้องใช้ทองคำจริงในการผลิตชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ต่างๆ เช่น Intrigated circuit (IC) เป็นต้น ความต้องการกลุ่มนี้ค่อนข้างคงที่ และถ้าเป็นไปได้จะพยายามลดการใช้ทองให้มากที่สุด (เพราะทองมันแพง)
3. กลุ่มผู้ซื้อทองเพื่อการลงทุน (Investment) เป็นผู้ซื้อที่ไม่ได้ต้องการใช้ทองจริง แต่ซื้อทองเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อเพื่อเก็งกำไร ซื้อเพื่อป้องกันเงินเพ้อ ซื้อเพื่อกระจายการลงทุน กลุ่มเหล่านี้มีค่อนข้างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนรายย่อย กองทุนรวม กองทุน ETF กองทุนป้องกันความเสี่ยง (Hedged Fund) กองทุนบำเน็จบำนาณ (Pension fund) เป็นต้น ความต้องการผู้ซื้อในกลุ่มนี้ค่อนข้างผันผวนคาดการณ์ยาก เนื่องจากผู้ลงทุนมีหลากหลายทั่วโลก และวัตถุประสงค์การซื้อก็แตกต่างกันไป เป็นกลุ่มผู้ซื้อที่สร้างความปวดหัวให้กับตลาดทองคำมากที่สุด
4. กลุ่มธนาคารกลาง (Central bank) ในสมัยโบราณที่สกุลเงินต่างๆยังไม่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย ธนาคารกลางที่จะพิมพ์ธนบัตรออกมาให้ใช้จ่ายก็จะต้องสำรองทองคำเอาไว้รองรับ เงินที่ตนเองพิมพ์ออกมาเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับสกุลเงินของตน ต่อมาก็เริ่มเปลี่ยนมาใช้เงินสกุลอื่นมาใช้เงินทุนสำรองของประเทศมากขึ้น และทยอยขายทองคำออกมา ทีนิยมกันมาก็คงเป็นค่าเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ สกุลยูโร และสกุลเยน มาช่วงหลังๆประเทศเจ้าของเงินสกุลดังกล่าวขยันพิมพ์เงินออกมามากๆ ธนาคารกลางประเทศต่างๆก็เริ่มกลัวว่าเงินสกุลหลักเหล่านั้นจะกลายเป็นแบงค์ กงเต็กในที่สุด จึงทยอยกลับเข้ามาซื้อทองเก็บ โดยเฉพาะประเทศที่ยังมีทองเป็นทุนสำรองต่ำ เช่น จีน และอินเดีย
ก่อนปี 2003 ที่กองทุนรวมทองคำ หรือกองทุน ETF ยังไม่แพร่หลาย Demand จากกลุ่มนักลงทุนมีน้อยมาก ความต้องการใช้ส่วนใหญ่จะมาจากกลุ่ม Jewellery เป็นหลัก มีกลุ่มเทคโลยีเล็กน้อย ส่วนกลุ่มธนาคารกลางทยอยขายโดยตลอดเนื่องจากทองไม่มีดอกเบี้ยจึงหันไปสะสม พันธบัตรรัฐบาลประเทศหลัก เช่น สหรัฐ ยุโรป หรือญี่ปุ่นแทน เนื่องจากธรรมชาติของกลุ่ม Jewellery และ เทคโลโลยีจะค่อนข้างสม่ำเสมอ การซื้อต้องพยายามซื้อให้ได้ราคาต่ำที่สุดเนื่องจากเป็นต้นทุนของสินค้าตน ไม่แย่งกันซื้อแบบไล่ราคา ทำให้ช่วงก่อนปี 2003 เป็นช่วงที่ราคาทองคำค่อนข้างมีเสถียรภาพ
หลังจากกองทุน ETF เริ่มเป็นที่นิยม ทำให้นักลงทุนสามารถลงทุนในทองคำกันสะดวกขึ้น ประกอบกับการเติบโตของบรรดา Hedge Fund ที่มุ่งเน้นการเก็งกำไร ทำให้ความต้องการทองคำเพื่อการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อมๆกับราคาทองคำที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังวิกฤติเศรษฐกิจสหรัฐปี 2008 ความต้องการทองคำพุ่งกระฉูดเพราะสหรัฐดำเนินนโยบายพิมพ์เงินออกมากระตุ้น เศรษฐกิจอย่างมหาศาล ประเทศอื่นๆในโลกก็ดำเนินนโยบายดอกเบี้ยต่ำปั๊มเงินออกมากู้ชาติเช่นกัน ทำให้นักลงทุนกังวลว่าค่าของเงินสกุลต่างๆที่พิมพ์ออกมาไม่หยุดหย่อนจะลดลง โดยเฉพาะสหรัฐ (คิดง่ายๆ เงินเยอะ ค่าน้อย เงินก็เฟ้อ) จึงแห่ตุนทองคำ ไม่ว่าจะเพื่อป้องกันเงินเฟ้อ เก็งกำไร หรือกระจายความเสี่ยง (สำหรับผมแล้วคำเหล่านี้มันไม่ต่างกันเท่าไร เพราะทุกคนต้องการกำไรเพื่อมาชดเชยค่าของเงินที่ลดลง) ทำให้ราคาทองพุ่งทะลุโลกถนนทุกสายมุ่งเข้าสู่ตลาดทองคำ จนในที่สุดธนาคารกลางประเทศต่างๆต้องหันกลับมาทบทวนเงินทุนสำรองของตนที่เคย ขายทองมาซื้อพันธบัตร ก็เปลี่ยนกลับมาถือทองมากขึ้น เพราะดอกเบี้ยพันธบัตรมันต่ำเตี้ย และก็กลัวว่าเงินที่พิมพ์มาเยอะๆทำให้ค่าเงินสกุลที่ตนใช้สำรองอยู่มันจะลด ลงฮวบๆ จึงกลับมาซื้อทองอีกทีตอนเกือบจะพีค โดยให้เหตุผลว่าเพื่อกระจายความเสี่ยงของเงินทุนสำรอง (คำนี้อีกแล้ว) ส่วนกลุ่ม Jewellery เมื่อราคาทองคำเพิ่มสูงขึ้น เครื่องประดับก็เริ่มมีราคาแพงกำลังซื้อก็ลดลงไป กลุ่ม Jewellery จึงต้องหันไปใช้วัตถุดิบอื่นที่ราคาถูกกว่ามาแทนที่เพื่อลดต้นทุน เช่น เงิน พลอย และอัญมณี ทำให้ความต้องการทองคำของกลุ่มนี้ลดลงอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ดีหลังจากทุกคนตุนทองเพื่อรับมือเงินเฟ้อกันครบ เงินเฟ้อมันก็ไม่มาซะที ทั้งๆที่พี่ใหญ่อย่างสหรัฐก็ขยันพิมพ์เงินกันออกมา คนก็ไม่เอาเงินมาลงทุนใช้จ่าย ดันเอากลับไปซื้อพันธบัตรทำให้ดอกเบี้ยสหรัฐต่ำเตี้ยเรี่ยราด สถาบันการเงินก็กลัวตัวเองจะล้มหายตายจากเหมือนเลห์แมน บราเธอร์ ก็กอดเงินที่พิมพ์ออกมาไม่ค่อยจะไปปล่อยกู้ ผ่านมาสามสี่ปีเศรษฐกิจสหรัฐก็ฟื้นช้าเหลือเกิน แต่เศรษฐกิจประเทศเกิดใหม่ก็โตแบบพรวดพราด ในที่สุดนักลงทุนก็พบทางเลือกอื่นที่น่าสนใจกว่าในการป้องกันการลดลงของค่า เงินสกุลหลัก นั่นคือพันธบัตรประเทศเกิดใหม่ และตลาดหุ้นประเทศเกิดใหม่ที่เติบโต ซึ่งสองอย่างนี้มีดอกเบี้ย มีปันผล มีการเติบโตของกำไร มี Reinvest return มีหลายๆอย่างที่ทองไม่สามารถให้ได้ ความต้องการทองเพื่อการลงทุนก็ค่อยๆลดลงเรื่อยๆ
จนกระทั่งวันที่ 14 เมษายน 2013 นี้เองเป็นวันที่ "Margin Call" สำหรับตลาดทองคำ นักลงทุนเทขายทองคำออกมาอย่างรุนแรง กดราคาทองลงมาต่ำสุดๆ แถว 1323 เหรียญต่อออนซ์ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำที่สุดในรอบ 3 ปี หลังจากวันนั้นนักวิเคราะห์เกือบทั้งโลกพูดไปในทางเดียวกันว่าทองคำได้ เปลี่ยนไปเป็นขาลงเรียบร้อยแล้ว ราคาเป้าหมายต่ำๆเริ่มโผล่มา 1370 1200 1150 หรือ 1000 ก็มี แต่ก็อย่างที่ผมเคยบอกแหละว่าทองคำมัน Valuation ยาก ใกล้เคียงสุดก็คงเป็น Marginal Cost of Production ซึ่งว่ากันว่าอยู่ที่ประมาณ 1,200-1,300 เหรียญต่อออนซ์ที่ผมไปอ่านเจอตามเวปไซด์ต่างๆเขียนไว้ใกล้เคียงกัน จริงเท็จอย่างไรผมก็ไม่รู้เหมือนกัน
ผมก็ไม่ได้เทพขนาดจะบอกได้ว่าราคาทองคำจะตกลงไปได้ถึงขนาดไหน หรือจะดีดกลับไปทำ New high หรือเปล่า เพราะผมไม่ใช่เซียนใบ้หวย แต่ผมเชื่อว่าราคาทองคำที่ลดลงจะทำให้ความต้องการของกลุ่ม Jewellery กลับมาอีกครั้ง อย่างที่เราได้เห็นผู้ซื้อเครื่องประดับทองคำแห่ไปร้านทองจนทองหมดร้านต้อง แจกบัตรคิวกัน และมันก็ไม่ได้เป็นแต่ประเทศไทย ที่จีน ฮ่องกง และอินเดีย ก็เป็นไปในลักษณะเดียวกัน ตรงกันข้ามกับความต้องการของกลุ่มนักลงทุนที่จะลดลงเรื่อยๆ ดังจะเห็นได้จากกองทุนรวม ETF ที่ทยอยขายทองคำออกมาตลอดในช่วงสองปีที่ผ่านมา ทิศทางราคาทองคำจากนี้ไปคงจะถูกกำหนดโดยผู้ซื้อสองกลุ่มดังกล่าวเป็นหลักว่า ใครจะอดทนกว่ากัน (แต่ถ้าดูจากที่อดีตผ่านมานักลงทุนเป็นกลุ่มที่มีความอดทนต่ำที่สุดใน 4 กลุ่ม) ส่วนกลุ่มธนาคารกลางที่เพิ่งกลับมาซื้อคงต้องทำใจนานหน่อยที่จะกลับมาขาย ราคาต่ำกว่าที่ซื้อไป เผลอถ้าเป็นธรรมเนียมประเทศแถวนี้ซื้อขายขาดทุนอาจถูกสอบสวนเอาซะด้วย 555+
สำหรับผมแล้วทองคำมันก็เป็นเงินสกุลหนึ่งที่ทุกคนในโลกมีสิทธ์จะเป็นเจ้าของ ได้ สามารถเอาไปแลกเป็นเงินได้ทุกสกุล ไม่มีดอกเบี้ย ไม่มีการเติบโต ไม่มีธนาคารกลาง ไม่มีการแทรกแซง ไม่มีข้อจำกัดการเปลี่ยนมือ มูลค่าของมันขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ซื้อและผู้ขายเป็นหลัก เงินส่วนใหญ่อยากให้มันไปทางไหน มันก็เป็นไปในทางนั้นแหละ
"Gold is money, itself, and nothing else"
- JP Morgan 1912 -
หมายเหตุ ความต้องการทองคำในภาพไม่รวมถึงตราสารอนุพันธ์หรือหลักทรัพย์ที่อ้างอิงทองคำ
วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556
ดราม่าตลาดหุ้น
เมื่อวันศุกร์ตลาดหุ้นลบไป 3.30% มาวันนี้บวกกลับไป 3.04% ตลาดหุ้นนี้จะว่าไปเปรียบได้กับละครดราม่า ที่มีนักแสดงทั้งพระเอก นางเอก ตัวโกง ตัวประกอบนับหมื่นนับแสนที่ผลัดเปลี่ยนกันมาแสดงบทของตัวเองในแต่ละวัน โดยที่ไม่รู้ว่าบทของตนในวันรุ่งขึ้นจะได้แสดงเป็นพระเอกหรือผู้ร้าย
ถ้าเป็นคนที่เล่นหุ้นไม่เป็น ยืนอยู่นอกตลาดแล้วมองดูอารมณ์ของนักแสดงในตลาดหุ้นแต่ละคนก็คงจะนึกขำอยู่ในใจ เพื่อนของผมคนหนึ่ง (ขอสงวนไม่เอ่ยนาม) สถาปนาตนเองเป็นเซียนหุ้นหนึ่งในใต้หล้าเมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา พร้อมชักชวนเพื่อนๆเอาเงินกำไรจากหุ้นไปเที่ยวยุโรป พอเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาเขาก็บอกกับผมว่า "ลาแล้วตลาดหุ้น พบกันใหม่ชาติหน้า" มาวันนี้เพื่อนคนเดียวกันนี้แหละบอกกับผมว่า "รีบซื้อหุ้นให้เต็มพอร์ต SET Index จะทำ New high ในอีกไม่กี่วัน" ไม่รู้เหมือนกันว่าเพื่อนผมคนนี้ซื้อหุ้นตั้งแต่วันศุกร์หรือวันนี้กันแน่
ผมก็ไม่รู้หรอกว่า SET Index จะทำ New high หรือไม่วันไหน เพื่อนผมอาจจะถูกก็ได้อาจจะผิดก็ได้ แต่มีปรมาจารย์ชั้นเซียนท่านหนึ่งที่ไม่เคยแสดงตัวในหน้าสื่อให้ใครสรรเสริญ เคยสอนผมสมัยเริ่มทำงานด้านการลงทุนใหม่ๆ ว่าจงเชื่อมั่นในหุ้นทุกตัวที่ลงทุนอยู่ และติดตามความเปลี่ยนแปลงของมันอยู่เสมอ มีเงินเพิ่มให้ก็ทยอยซื้อเข้าไป ระหว่างที่ถือก็ให้ศึกษาหาหุ้นที่น่าสนใจตัวใหม่ไปเรื่อยๆแบบไม่ต้องรีบร้อนอะไร เมื่อไรที่หุ้นที่เราถืออยู่มีแนวโน้มจะแย่ลง หรือมีหุ้นตัวอื่นที่เรามั่นใจมากกว่า ก็ขายหุ้นที่มีไปถือเงินสดหรือไปซื้อหุ้นใหม่ที่น่าสนใจกว่า ง่ายๆแค่นี้ ไม่ต้องสนใจดัชนี ไม่ต้องสนใจคนรอบข้างจะว่าอะไร ไม่ต้องสนใจโบรกเกอร์จะแนะนำให้เล่นหุ้นตัวไหน จงทำการบ้านให้หนัก และเชื่อมั่นในตัวเองเป็นพอ ดัชนีและคนรอบข้างเรานั่นแหละที่เป็นศัตรูที่สำคัญที่สุดของการลงทุน
ผมก็ไม่รู้หรอกว่าเพื่อนผมที่เทรดหุ้นตามอารมณ์นี้ได้กำไรจากตลาดหุ้นมากน้อยแค่ไหน แต่ผมยังคงติดตามการลงทุนปรมาจารย์ไอดอลของผมนี้ได้ตามรายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทจดทะเบียนอยู่เสมอๆ ทั้งที่เขาก็มีจุดเริ่มต้นเป็นพนักงานกินเงินเดือนธรรมดาๆคนนึงมาก่อน ผ่านวัฎจักรขาขึ้นและลงมาหลายวิกฤติ ทั้งต้มยำกุ้ง ซาร์ ซึนามิ แฮมเบอร์เกอร์ หนี้สเปน ฯลฯ แต่ก็ไม่ได้สะทกสะท้านแต่อย่างใด น่าเสียดายที่เขาไม่ค่อยเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปเนื่องจากเป็นคนสันโดษไม่ค่อยออกสื่อ ไม่ค่อยเข้าสังคม ขนาดเคยทำงานด้วยกันยังได้คุยกันแค่ไม่กี่ครั้ง แต่ซื้อหุ้นแต่ละตัวบริษัทต้องมาเชิญไปเป็นกรรมการในบอร์ด (เพราะซื้อเยอะ)
ใครที่เบื่อหน่ายกับการเทรดหุ้นไปวันๆ ซื้อขายตลาดอารมณ์ตลาด อารมณ์แปรปรวนมากๆเวลากำไรหรือขาดทุนหนักๆ อาจจะลองประยุกต์แนวทางลงทุนแบบเรื่อยๆเฉื่อยๆนี้ดูก็ได้ แม้มันอาจไม่ได้กำไรหรือหวาเป็นที่โจทย์จันทน์ของวงการนักเลงหุ้น แต่มันก็เป็นแนวทางการลงทุนที่ผมดูแล้วสบายๆที่สุด
ดัชนีและคนรอบข้างในตลาดหุ้นคือศัตรูตัวฉกาจที่จะทำให้เราเบี่ยงเบนความสนใจจากการลงทุนในหุ้น ไปเป็นการ "เล่น" หุ้นได้ง่ายๆ
ลองนึกดูว่าเราลงทุนในหุ้นเพราะต้องการอะไร ชนะดัชนี รวยกว่าเพื่อนๆ หรือว่ากำไรกันแน่ (^ ^)
วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
ทุนนิยมกับโลกาภิวัฒน์
เรื่องนี้คงคล้ายๆ กับระบบทุนนิยม VS ระบบสังคมนิยม สะท้อนให้เห็นความเป็นไปของโลกได้เป็นอย่างดี
"อ. เศรษฐศาสตร์เถียงเรื่องนโยบายของรัฐ (ในที่นี้คือ Democrat)
ไม่มีทางเป็นไปได้ ที่จะทำให้คนทั้งหมดในประเทศเท่ากัน
ไม่มีคนจนและไม่มีคนรวยเลย ทุกคนเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง
และมันคงจะเป็นดินแดนในฝันแน่ ๆ
อ. บอกว่าไม่มีทาง แต่ถ้าอยากจะลองดูก็ได้นะ
เริ่มจากในห้องนี้ก่อนเป็นอย่างไร เราจะมาทดลองระบบนี้กัน
เกรดทุกคนในห้องนี้จะเป็นค่าเฉลี่ย และทุกคนจะได้เท่ากันหมด
ไม่มีคนตก และไม่มีใครได้สูงกว่าใคร ดีไหม
หลังการสอบครั้งแรก ค่าเฉลี่ยของเกรด คือ B
นักเรียนหลาย ๆ คนในห้องเริ่มพอใจ ส่วนนักเรียนที่เรียนดี
รู้สึกไม่พอใจ เพราะพยายามแทบตายได้แค่ B
ดังนั้นในการสอบครั้งต่อมา คนที่ไม่เรียน ไม่ขยันก็ไม่ตั้งใจเหมือนเดิม
คนที่ขยันบ้างก็ เลิกขยัน หรือขยันน้อยลง เพราะรู้สึกสบาย ๆ ขึ้น
ส่วนพวกขยันมาก ก็แทบจะเลิกขยันไปเลย
ผลการสอบครั้งต่อมา ทั้งห้องได้ D ..... ทุกคนเริ่มไม่พอใจ
ผลการสอบครั้งที่ 3 ทั้งห้องได้ F .... ทุกคนเริ่มโทษกันเอง ...
อ. จึงบอกว่า คุณค่าของความพยายามมันจะมีค่าเมื่อผลที่ได้รับมันคุ้มค่า ใครเล่าจะพยายามเมื่อผลลัพท์มันได้เท่าไม่พยายาม"
ระบบทุนนิยมให้รางวัลกับคนที่มีความพยายามเพื่อผลักดันโลกไปข้างหน้า และลงโทษคนที่ไม่พยายามเพื่อให้เขาเหล่านั้นได้ปรับปรุงตัวเสียใหม่ โลกมันจึงก้าวไปข้างหน้า
ระบบสังคมนิยมไม่ได้ให้อะไรนอกจาก ให้ทุกคนเท่าเทียมกัน ไม่ได้ให้รางวัลคนทำดีและไม่ได้ลงโทษคนที่ทำไม่ดี โลกจึงอยู่กับที่รอวันถอยหลัง
กาลเวลาได้พิสูจน์แล้วว่าระบบหลังล้มหายตายจาก แม้กระทั่งประเทศที่เป็นผู้ริเริ่มยังต้องละทิ้งมันไปสู่ทุนนิยม
ระบบทุนนิยมเองก็มีจุดอ่อนตรงที่ความแตกต่างกันของชนชั้นนำกับชนชั้นล่างจะ ยิ่งมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอาจแก้ด้วยการเก็บภาษีคนรวยให้หนัก เพื่อเอามาพัฒนาศักยภาพของชนชั้นล่างเพื่อให้วันหนึ่งพวกเขาสามารถผลักดัน ตัวเองขึ้นมาเป็นชนชั้นนำได้ ซึ่งสามารถทำได้โดยการให้การศึกษา การพัฒนาอาชีพ การให้โอกาสทำกิน และการจัดหาแหล่งเงินทุนครับ ไม่ใช่สนับสนุนการก่อหนี้เพื่อการบริโภคที่เกินตัว หรือแจกเงินทองให้พวกเขาใช้ไปวันๆ แต่ยังคงสถานะให้เป็นชนชั้นล่างเหมือนเดิม
โลกจึงจะยังเดินอยู่ต่อได้อย่างที่มันเป็นอยู่
ป.ล. ผมว่าตามหลักทุนนิยมทั่วๆไป ไม่เกี่ยวกับการเมืองไทยนะครับ :)
วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
บททดสอบแห่งศรัทธา
ตั้งแต่ต้นปีมาตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นไม่เยอะนัก แต่ถ้าไปลองดูหุ้นรายตัวปรากฎว่าพุ่งกระฉูด Ceiling มีให้เห็นกันได้ทุกวัน บางตัวก็ Ceiling มันติดๆกันหลายวัน มันคงเป็นเรื่องปกติที่จะทำให้เซียนหุ้นไขว้เขวไปกับแนวทางที่ตนเองยึดมั่น
นักลงทุนที่ประกาศตัวเป็น Value Investor หรือ VI ก็อาจชักจะอยากขายหุ้น Value ของตัวเองที่อืดเหลือเกิน ไปไล่หุ้นที่กำลังแรงมั่ง มองซ้ายมองขวาเห็นเพื่อนๆไล่หุ้นร้อนกันรวยเละเทะ แล้วจะช้าอยู่ไยขายหุ้น VI มันให้หมดเลยดีกว่า แปลงสภาพจาก VI เป็น ไวไว ในบัดดล
ส่วน ขาลุยเล่นตามเทคนิคก็กำลังใจฮึกเหิม เทรดหุ้นกำไรเยอะชักอยากเล่นมาจิ้น เล่นด้วยเงินตัวเองมันรวยช้า อย่ากระนั้นเลยเทรด Futures มันเลยดีกว่าจะได้รวยเร็วๆ โบราณว่าน้ำขึ้นให้รีบตัก
ในตลาด ตะลุมบอนอย่างปัจจุบัน มันเป็นการยากถึงยากมากที่จะรักษาศรัทธาในแนวทางลงทุนของตนเองให้คงมั่นได้ เมื่อตลาดเปลี่ยนตัวเราก็เปลี่ยน ไม่ว่าจะเป็นปรัญญา วิธีการลงทุน ความเสี่ยงที่ตนอยากจะเข้ารับ
แต่เชื่อผมเถอะว่านักลงทุนแต่ ละคนมีแนวทางการลงทุนในเหมาะสมกับตัวเองแค่แนวทางเดียวเท่านั้น หากเราเคยประสบความสำเร็จกับแนวทางไหน ก็ควรยึดมั่นกับแนวทางนั้นๆ ไม่ว่าตลาดจะเป็นอย่างไร
ตลาดหุ้นแต่ละช่วงเวลาก็ให้รางวัล กับการลงทุนในแต่ละแนวทางไม่เท่ากัน บางปีหุ้น Value ก็ดีกว่า บางปีหุ้น Growth ก็ดีกว่า บางปีหุ้นปั่นก็ดีกว่า ถ้าเรายึดมั่นในแนวทางที่เราทำได้ดี เราก็จะมีปีที่ดีบ้างแย่บ้าง แต่ในระยะยาวแล้วการทำในสิ่งที่เราถนัดจะให้ผลได้ดีกว่าพยายามตามกระแสฝืนไป ทำสิ่งอยู่นอกขอบเขตความชำนาญของตัวเองอย่างแน่นอน
นักลงทุน ที่ประสบความสำเร็จเป็นที่รู้จักเป็นการทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น Warrent Buffet, George Soros, Phillip Fisher, Sir John Templeton หรือ Benjamin Graham ก็เพราะพวกเขายึดมั่นในแนวทางที่ตัวเองถนัด แม้ว่าจะมีปีที่พวกเขาทำได้แย่แต่เขาก็ไม่เปลี่ยนแนวทางจนกระทั่งกลายเป็น ตำนานกันไปหมด
มีนักลงทุนน้อยคนมากที่จะประสบความสำเร็จจาก การเปลี่ยนแนวทางการลงทุนจากแบบหนึ่งไปสู่อีกแบบหนึ่งได้อย่างถูกต้องเหมาะ เจาะกับตลาดในช่วงนั้นๆได้ตลอดเวลา เพราะลักษณะนิสัยของคนเรามันเปลี่ยนกันยาก ถ้ามีนักลงทุนอย่างที่ว่าอยู่จริงก็คงจะประสบความสำเร็จเหนือไปกว่ารายชื่อ ที่กล่าวมาข้างต้นอีก จากประสบการณ์ของผมมักจะเห็นประเภทว่าเปลี่ยนจากผิดแนวนี้ไปผิดแนวโน้นซะ มากกว่า
ผมย้ำเสมอว่าสิ่งแรกที่ต้องพิจารณาก่อนเริ่มลงทุนคือ ต้องหาตัวเองให้เจอเสียก่อน ลองทบทวนตัวเองดูครับว่าตัวตนที่แท้จริงของเราเป็นอย่างไรกันแน่
คุณค่าของเงินล้าน
เมื่อหลายวันก่อน ผมได้ยินคำถามจากนักลงทุนท่ านหนึ่งใน Facebook ว่าตลาดหุ้นขึ้นเรื่อยๆ ทุกคนได้กำไรแล้วใครขาดทุน มีหลายคนแสดงความเห็นในหลาย แง่มุม บ้างก็ว่าเจ้ามือขาดทุน กองทุนขาดทุน เจ้าของขาดทุน และที่เด็ดสุดๆคือคำตอบที่ว ่าไม่มีใครขาดทุนทุกคนได้กำ ไร ไม่เป็นไรครับเพราะหุ้นมันข ึ้นต่อเนื่องมาสามเดือนติด คิดอย่างไรคงไม่สำคัญนัก
มาวันนี้ตลาดหุ้นตก 17 จุด แบบตั้งตัวไม่ทัน ผมขอตั้งคำถามกลับว่าวันนี้ใครขาดทุน หลายๆคนมองพอร์ตตัวเองแล้วค งจะรู้สึกว่าเรารวยลดลง หรือถ้าโชคร้ายหน่อยก็ขาดทุ น แต่ไม่เป็นเพราะยังไม่ขายถื อว่ายังไม่ขาดทุน 555+ (ว่าเข้าไปนั้น)
เช่นนั้นแล้วกำไรและขาดทุนแ ท้จริงเป็นเช่นไร?
ตลาดหุ้นอยู่ในขาขึ้นคนมีหุ ้นได้กำไร คนไม่มีหุ้นขาดทุนเพราะเสีย โอกาสได้กำไร
ตลาดหุ้นอยุ่ในขาลงคนไม่มีห ุ้นได้กำไรจากโอกาสที่จะซื้ อหุ้นได้ที่ราคาที่ถูกลง ส่วนคนที่ถือหุ้นอยู่ขาดทุน
ในระยะยาวแล้วการไม่ลงทุนเล ยก็เป็นต้นทุนชีวิตเช่นกัน เพราะค่าของเงินมันไม่ได้อย ู่ที่ตัวเลขเงินที่คุณมี แต่มันอยู่ที่ตัวเลขเงินที่ คุณมีเมื่อเทียบกับเงินที่ค นอื่นมีต่างหาก
พ่อผมเล่าให้ฟังว่าเมื่อ 60 ปีก่อนก๋วยเตี๋ยวชามละไม่ถึ งบาท มีเงิน 10 บาทเที่ยวรอบกรุงเทพได้ ถ้ามีเงินล้านเรียกมหาเศรษฐ ี มีสิบล้านเรียกอภิมหาเศรษฐี
หกสิบปีผ่านไป ผมรู้สึกว่าคนมีเงินล้านมัน ช่างธรรมดาเหลือเกิน มีสิบล้านก็แค่พอมีอันจะกิน เท่านั้น สมัยนี้เศรษฐีเขาเริ่มคุยกั นที่ 100 ล้านบาท
นั่นเพราะว่าระยะเวลา 60 ปีที่ผ่านมา ผู้คนต่างก็ทำมาค้าขาย ประกอบกิจการ อาชีพต่างๆ และสะสมเงินของพวกเขาเรื่อย มา ถ้ามหาเศรษฐีที่กลัวความเสี ่ยงในสมัยนั้น เอาเงินไปฝังตุ่ม ก็ต้องบอกว่าพวกเขาจนลงไปมา ก เพราะในสมัยนี้เงินล้านของเ ขาซื้อบ้านอยู่ซักหลังยังแท บไม่ได้
นี่ขนาดเมื่อหกสิบปีก่อนยัง ไม่มีตลาดหุ้นนะครับ เงิน 1 ล้านบาทยังมีค่าลดลงขนาดนั้ น แล้วลองนึกภาพดูว่าปัจจุบัน มีเซียนหุ้นบังเกิดขึ้นมากม าย พวกเขารวยขึ้นพร้อมๆกัน 3-4 เท่าในเวลาแค่ 3-4 ปี ถ้าคุณยังหลีกเลี่ยงการลงทุ น เอาเงินไปฝากธนาคาร เวลาอีก 20-30 ปีข้างหน้า คุณคิดว่าเงิน 1 ล้านบาทของคุณจะมีค่าแค่ไหน กัน (เชียว)
ถ้าคุณไม่เริ่มลงทุนซะที แม้ว่าคุณจะไม่ขาดทุนในรูปต ัวเงิน แต่คุณกำลังขาดทุนในแง่ความ มั่งคั่งในอนาคตของคุณอย่าง แน่นอน ถ้าคุณลงทุนแม้ว่าจะขาดทุนบ ้างในบางปี แต่มันจะทำให้คุณมีโอกาสที่ จะรักษามูลค่าของเงินในกระเ ป๋าของคุณได้บ้าง และความจริงการลงทุนก็ไม่จำ เป็นต้องเล่นหุ้นเท่านั้น คุณจะทำธุรกิจอะไรก็ได้ที่ห วังว่าจะได้ผลกำไรมากกว่าดอ กเบี้ยแล้วกัน คุณถนัดอะไรก็ทำอย่างนั้นแห ละ
เริ่มเรียนรู้ที่จะลงทุนกัน เถอะครับ
มาวันนี้ตลาดหุ้นตก 17 จุด แบบตั้งตัวไม่ทัน ผมขอตั้งคำถามกลับว่าวันนี้ใครขาดทุน หลายๆคนมองพอร์ตตัวเองแล้วค
เช่นนั้นแล้วกำไรและขาดทุนแ
ตลาดหุ้นอยู่ในขาขึ้นคนมีหุ
ตลาดหุ้นอยุ่ในขาลงคนไม่มีห
ในระยะยาวแล้วการไม่ลงทุนเล
พ่อผมเล่าให้ฟังว่าเมื่อ 60 ปีก่อนก๋วยเตี๋ยวชามละไม่ถึ
หกสิบปีผ่านไป ผมรู้สึกว่าคนมีเงินล้านมัน
นั่นเพราะว่าระยะเวลา 60 ปีที่ผ่านมา ผู้คนต่างก็ทำมาค้าขาย ประกอบกิจการ อาชีพต่างๆ และสะสมเงินของพวกเขาเรื่อย
นี่ขนาดเมื่อหกสิบปีก่อนยัง
ถ้าคุณไม่เริ่มลงทุนซะที แม้ว่าคุณจะไม่ขาดทุนในรูปต
เริ่มเรียนรู้ที่จะลงทุนกัน
ฤ สูงสุด จะคืนสู่สามัญ?
วัฎจักรเทคโนโลยีผ่านมาแล้ว
วันนี้ราคาหุ้น Apple ไหลรวดเดียว 10% ลงจากจุดสูงสุด $700 เหลือ $460 ในเวลาแค่ 5 เดือน นักวิเคราะห์ใน Wallstreet มีคำอธิบายมากมายว่าทำไมราค
สำหรับผมแล้วนี่ไม่ใช่ครั้ง
สำหรับผมผู้ซึ่งโบราณมาเวลา
หุ้นตามโพยนั้น สำคัญไฉน?
พักหลังผมรู้สึกไม่ค่อยสบาย
ช่วงที่ผ่านมาตลาดหุ้นเป็นข
เมื่อทุกคนฟังแล้วชื้อทันที
ลองหยุดซักนิด ย้อนกลับมาคิดซักหน่อยว่าเร
ถ้ามองโลกในแง่ดี เซียนเขาจิตใจดีปานเทพ วิเคราะห์พื้นฐาน เทคนิค โหราศาสตร์แล้วก็มาบอกนักลง
ถ้ามองแบบกลางๆ เซียนเขามีน้ำใจซื้อแล้วบอก
ถ้ามองโลกในแง่ร้าย เซียนเขาเก็บของครบแล้ว ไล่ราคาแล้ว บอกรายย่อยมาช่วยกันรับเยอะ
แต่ไม่ว่าจะมองโลกในแง่ไหน ผมแน่ใจ 100% ว่าเซียนที่บอกโพยคุณเขาซื้
ผมก็ไม่รู้ว่าตลาดหุ้นจะเป็
Social Media ในปัจจุบันมันมีหลากหลายและ
"ใครใคร่ค้าม้าค้า ใครใคร่ค้าช้างค้า" ประโยคเด็ดสมัยพ่อขุนรามคำแ
คำแนะนำเป็นของเขา การตัดสินใจและเงินเป็นของท
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)