วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
ทุนนิยมกับโลกาภิวัฒน์
เรื่องนี้คงคล้ายๆ กับระบบทุนนิยม VS ระบบสังคมนิยม สะท้อนให้เห็นความเป็นไปของโลกได้เป็นอย่างดี
"อ. เศรษฐศาสตร์เถียงเรื่องนโยบายของรัฐ (ในที่นี้คือ Democrat)
ไม่มีทางเป็นไปได้ ที่จะทำให้คนทั้งหมดในประเทศเท่ากัน
ไม่มีคนจนและไม่มีคนรวยเลย ทุกคนเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง
และมันคงจะเป็นดินแดนในฝันแน่ ๆ
อ. บอกว่าไม่มีทาง แต่ถ้าอยากจะลองดูก็ได้นะ
เริ่มจากในห้องนี้ก่อนเป็นอย่างไร เราจะมาทดลองระบบนี้กัน
เกรดทุกคนในห้องนี้จะเป็นค่าเฉลี่ย และทุกคนจะได้เท่ากันหมด
ไม่มีคนตก และไม่มีใครได้สูงกว่าใคร ดีไหม
หลังการสอบครั้งแรก ค่าเฉลี่ยของเกรด คือ B
นักเรียนหลาย ๆ คนในห้องเริ่มพอใจ ส่วนนักเรียนที่เรียนดี
รู้สึกไม่พอใจ เพราะพยายามแทบตายได้แค่ B
ดังนั้นในการสอบครั้งต่อมา คนที่ไม่เรียน ไม่ขยันก็ไม่ตั้งใจเหมือนเดิม
คนที่ขยันบ้างก็ เลิกขยัน หรือขยันน้อยลง เพราะรู้สึกสบาย ๆ ขึ้น
ส่วนพวกขยันมาก ก็แทบจะเลิกขยันไปเลย
ผลการสอบครั้งต่อมา ทั้งห้องได้ D ..... ทุกคนเริ่มไม่พอใจ
ผลการสอบครั้งที่ 3 ทั้งห้องได้ F .... ทุกคนเริ่มโทษกันเอง ...
อ. จึงบอกว่า คุณค่าของความพยายามมันจะมีค่าเมื่อผลที่ได้รับมันคุ้มค่า ใครเล่าจะพยายามเมื่อผลลัพท์มันได้เท่าไม่พยายาม"
ระบบทุนนิยมให้รางวัลกับคนที่มีความพยายามเพื่อผลักดันโลกไปข้างหน้า และลงโทษคนที่ไม่พยายามเพื่อให้เขาเหล่านั้นได้ปรับปรุงตัวเสียใหม่ โลกมันจึงก้าวไปข้างหน้า
ระบบสังคมนิยมไม่ได้ให้อะไรนอกจาก ให้ทุกคนเท่าเทียมกัน ไม่ได้ให้รางวัลคนทำดีและไม่ได้ลงโทษคนที่ทำไม่ดี โลกจึงอยู่กับที่รอวันถอยหลัง
กาลเวลาได้พิสูจน์แล้วว่าระบบหลังล้มหายตายจาก แม้กระทั่งประเทศที่เป็นผู้ริเริ่มยังต้องละทิ้งมันไปสู่ทุนนิยม
ระบบทุนนิยมเองก็มีจุดอ่อนตรงที่ความแตกต่างกันของชนชั้นนำกับชนชั้นล่างจะ ยิ่งมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอาจแก้ด้วยการเก็บภาษีคนรวยให้หนัก เพื่อเอามาพัฒนาศักยภาพของชนชั้นล่างเพื่อให้วันหนึ่งพวกเขาสามารถผลักดัน ตัวเองขึ้นมาเป็นชนชั้นนำได้ ซึ่งสามารถทำได้โดยการให้การศึกษา การพัฒนาอาชีพ การให้โอกาสทำกิน และการจัดหาแหล่งเงินทุนครับ ไม่ใช่สนับสนุนการก่อหนี้เพื่อการบริโภคที่เกินตัว หรือแจกเงินทองให้พวกเขาใช้ไปวันๆ แต่ยังคงสถานะให้เป็นชนชั้นล่างเหมือนเดิม
โลกจึงจะยังเดินอยู่ต่อได้อย่างที่มันเป็นอยู่
ป.ล. ผมว่าตามหลักทุนนิยมทั่วๆไป ไม่เกี่ยวกับการเมืองไทยนะครับ :)
วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
บททดสอบแห่งศรัทธา
ตั้งแต่ต้นปีมาตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นไม่เยอะนัก แต่ถ้าไปลองดูหุ้นรายตัวปรากฎว่าพุ่งกระฉูด Ceiling มีให้เห็นกันได้ทุกวัน บางตัวก็ Ceiling มันติดๆกันหลายวัน มันคงเป็นเรื่องปกติที่จะทำให้เซียนหุ้นไขว้เขวไปกับแนวทางที่ตนเองยึดมั่น
นักลงทุนที่ประกาศตัวเป็น Value Investor หรือ VI ก็อาจชักจะอยากขายหุ้น Value ของตัวเองที่อืดเหลือเกิน ไปไล่หุ้นที่กำลังแรงมั่ง มองซ้ายมองขวาเห็นเพื่อนๆไล่หุ้นร้อนกันรวยเละเทะ แล้วจะช้าอยู่ไยขายหุ้น VI มันให้หมดเลยดีกว่า แปลงสภาพจาก VI เป็น ไวไว ในบัดดล
ส่วน ขาลุยเล่นตามเทคนิคก็กำลังใจฮึกเหิม เทรดหุ้นกำไรเยอะชักอยากเล่นมาจิ้น เล่นด้วยเงินตัวเองมันรวยช้า อย่ากระนั้นเลยเทรด Futures มันเลยดีกว่าจะได้รวยเร็วๆ โบราณว่าน้ำขึ้นให้รีบตัก
ในตลาด ตะลุมบอนอย่างปัจจุบัน มันเป็นการยากถึงยากมากที่จะรักษาศรัทธาในแนวทางลงทุนของตนเองให้คงมั่นได้ เมื่อตลาดเปลี่ยนตัวเราก็เปลี่ยน ไม่ว่าจะเป็นปรัญญา วิธีการลงทุน ความเสี่ยงที่ตนอยากจะเข้ารับ
แต่เชื่อผมเถอะว่านักลงทุนแต่ ละคนมีแนวทางการลงทุนในเหมาะสมกับตัวเองแค่แนวทางเดียวเท่านั้น หากเราเคยประสบความสำเร็จกับแนวทางไหน ก็ควรยึดมั่นกับแนวทางนั้นๆ ไม่ว่าตลาดจะเป็นอย่างไร
ตลาดหุ้นแต่ละช่วงเวลาก็ให้รางวัล กับการลงทุนในแต่ละแนวทางไม่เท่ากัน บางปีหุ้น Value ก็ดีกว่า บางปีหุ้น Growth ก็ดีกว่า บางปีหุ้นปั่นก็ดีกว่า ถ้าเรายึดมั่นในแนวทางที่เราทำได้ดี เราก็จะมีปีที่ดีบ้างแย่บ้าง แต่ในระยะยาวแล้วการทำในสิ่งที่เราถนัดจะให้ผลได้ดีกว่าพยายามตามกระแสฝืนไป ทำสิ่งอยู่นอกขอบเขตความชำนาญของตัวเองอย่างแน่นอน
นักลงทุน ที่ประสบความสำเร็จเป็นที่รู้จักเป็นการทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น Warrent Buffet, George Soros, Phillip Fisher, Sir John Templeton หรือ Benjamin Graham ก็เพราะพวกเขายึดมั่นในแนวทางที่ตัวเองถนัด แม้ว่าจะมีปีที่พวกเขาทำได้แย่แต่เขาก็ไม่เปลี่ยนแนวทางจนกระทั่งกลายเป็น ตำนานกันไปหมด
มีนักลงทุนน้อยคนมากที่จะประสบความสำเร็จจาก การเปลี่ยนแนวทางการลงทุนจากแบบหนึ่งไปสู่อีกแบบหนึ่งได้อย่างถูกต้องเหมาะ เจาะกับตลาดในช่วงนั้นๆได้ตลอดเวลา เพราะลักษณะนิสัยของคนเรามันเปลี่ยนกันยาก ถ้ามีนักลงทุนอย่างที่ว่าอยู่จริงก็คงจะประสบความสำเร็จเหนือไปกว่ารายชื่อ ที่กล่าวมาข้างต้นอีก จากประสบการณ์ของผมมักจะเห็นประเภทว่าเปลี่ยนจากผิดแนวนี้ไปผิดแนวโน้นซะ มากกว่า
ผมย้ำเสมอว่าสิ่งแรกที่ต้องพิจารณาก่อนเริ่มลงทุนคือ ต้องหาตัวเองให้เจอเสียก่อน ลองทบทวนตัวเองดูครับว่าตัวตนที่แท้จริงของเราเป็นอย่างไรกันแน่
คุณค่าของเงินล้าน
เมื่อหลายวันก่อน ผมได้ยินคำถามจากนักลงทุนท่านหนึ่งใน Facebook ว่าตลาดหุ้นขึ้นเรื่อยๆ ทุกคนได้กำไรแล้วใครขาดทุน มีหลายคนแสดงความเห็นในหลายแง่มุม บ้างก็ว่าเจ้ามือขาดทุน กองทุนขาดทุน เจ้าของขาดทุน และที่เด็ดสุดๆคือคำตอบที่ว่าไม่มีใครขาดทุนทุกคนได้กำไร ไม่เป็นไรครับเพราะหุ้นมันขึ้นต่อเนื่องมาสามเดือนติด คิดอย่างไรคงไม่สำคัญนัก
มาวันนี้ตลาดหุ้นตก 17 จุด แบบตั้งตัวไม่ทัน ผมขอตั้งคำถามกลับว่าวันนี้ใครขาดทุน หลายๆคนมองพอร์ตตัวเองแล้วคงจะรู้สึกว่าเรารวยลดลง หรือถ้าโชคร้ายหน่อยก็ขาดทุน แต่ไม่เป็นเพราะยังไม่ขายถือว่ายังไม่ขาดทุน 555+ (ว่าเข้าไปนั้น)
เช่นนั้นแล้วกำไรและขาดทุนแท้จริงเป็นเช่นไร?
ตลาดหุ้นอยู่ในขาขึ้นคนมีหุ้นได้กำไร คนไม่มีหุ้นขาดทุนเพราะเสียโอกาสได้กำไร
ตลาดหุ้นอยุ่ในขาลงคนไม่มีหุ้นได้กำไรจากโอกาสที่จะซื้อหุ้นได้ที่ราคาที่ถูกลง ส่วนคนที่ถือหุ้นอยู่ขาดทุน
ในระยะยาวแล้วการไม่ลงทุนเลยก็เป็นต้นทุนชีวิตเช่นกัน เพราะค่าของเงินมันไม่ได้อยู่ที่ตัวเลขเงินที่คุณมี แต่มันอยู่ที่ตัวเลขเงินที่คุณมีเมื่อเทียบกับเงินที่คนอื่นมีต่างหาก
พ่อผมเล่าให้ฟังว่าเมื่อ 60 ปีก่อนก๋วยเตี๋ยวชามละไม่ถึงบาท มีเงิน 10 บาทเที่ยวรอบกรุงเทพได้ ถ้ามีเงินล้านเรียกมหาเศรษฐี มีสิบล้านเรียกอภิมหาเศรษฐี
หกสิบปีผ่านไป ผมรู้สึกว่าคนมีเงินล้านมันช่างธรรมดาเหลือเกิน มีสิบล้านก็แค่พอมีอันจะกินเท่านั้น สมัยนี้เศรษฐีเขาเริ่มคุยกันที่ 100 ล้านบาท
นั่นเพราะว่าระยะเวลา 60 ปีที่ผ่านมา ผู้คนต่างก็ทำมาค้าขาย ประกอบกิจการ อาชีพต่างๆ และสะสมเงินของพวกเขาเรื่อยมา ถ้ามหาเศรษฐีที่กลัวความเสี่ยงในสมัยนั้น เอาเงินไปฝังตุ่ม ก็ต้องบอกว่าพวกเขาจนลงไปมาก เพราะในสมัยนี้เงินล้านของเขาซื้อบ้านอยู่ซักหลังยังแทบไม่ได้
นี่ขนาดเมื่อหกสิบปีก่อนยังไม่มีตลาดหุ้นนะครับ เงิน 1 ล้านบาทยังมีค่าลดลงขนาดนั้น แล้วลองนึกภาพดูว่าปัจจุบันมีเซียนหุ้นบังเกิดขึ้นมากมาย พวกเขารวยขึ้นพร้อมๆกัน 3-4 เท่าในเวลาแค่ 3-4 ปี ถ้าคุณยังหลีกเลี่ยงการลงทุน เอาเงินไปฝากธนาคาร เวลาอีก 20-30 ปีข้างหน้า คุณคิดว่าเงิน 1 ล้านบาทของคุณจะมีค่าแค่ไหนกัน (เชียว)
ถ้าคุณไม่เริ่มลงทุนซะที แม้ว่าคุณจะไม่ขาดทุนในรูปตัวเงิน แต่คุณกำลังขาดทุนในแง่ความมั่งคั่งในอนาคตของคุณอย่างแน่นอน ถ้าคุณลงทุนแม้ว่าจะขาดทุนบ้างในบางปี แต่มันจะทำให้คุณมีโอกาสที่จะรักษามูลค่าของเงินในกระเป๋าของคุณได้บ้าง และความจริงการลงทุนก็ไม่จำเป็นต้องเล่นหุ้นเท่านั้น คุณจะทำธุรกิจอะไรก็ได้ที่หวังว่าจะได้ผลกำไรมากกว่าดอกเบี้ยแล้วกัน คุณถนัดอะไรก็ทำอย่างนั้นแหละ
เริ่มเรียนรู้ที่จะลงทุนกันเถอะครับ
มาวันนี้ตลาดหุ้นตก 17 จุด แบบตั้งตัวไม่ทัน ผมขอตั้งคำถามกลับว่าวันนี้ใครขาดทุน หลายๆคนมองพอร์ตตัวเองแล้วค
เช่นนั้นแล้วกำไรและขาดทุนแ
ตลาดหุ้นอยู่ในขาขึ้นคนมีหุ
ตลาดหุ้นอยุ่ในขาลงคนไม่มีห
ในระยะยาวแล้วการไม่ลงทุนเล
พ่อผมเล่าให้ฟังว่าเมื่อ 60 ปีก่อนก๋วยเตี๋ยวชามละไม่ถึ
หกสิบปีผ่านไป ผมรู้สึกว่าคนมีเงินล้านมัน
นั่นเพราะว่าระยะเวลา 60 ปีที่ผ่านมา ผู้คนต่างก็ทำมาค้าขาย ประกอบกิจการ อาชีพต่างๆ และสะสมเงินของพวกเขาเรื่อย
นี่ขนาดเมื่อหกสิบปีก่อนยัง
ถ้าคุณไม่เริ่มลงทุนซะที แม้ว่าคุณจะไม่ขาดทุนในรูปต
เริ่มเรียนรู้ที่จะลงทุนกัน
ฤ สูงสุด จะคืนสู่สามัญ?
วัฎจักรเทคโนโลยีผ่านมาแล้ว
วันนี้ราคาหุ้น Apple ไหลรวดเดียว 10% ลงจากจุดสูงสุด $700 เหลือ $460 ในเวลาแค่ 5 เดือน นักวิเคราะห์ใน Wallstreet มีคำอธิบายมากมายว่าทำไมราค
สำหรับผมแล้วนี่ไม่ใช่ครั้ง
สำหรับผมผู้ซึ่งโบราณมาเวลา
หุ้นตามโพยนั้น สำคัญไฉน?
พักหลังผมรู้สึกไม่ค่อยสบาย
ช่วงที่ผ่านมาตลาดหุ้นเป็นข
เมื่อทุกคนฟังแล้วชื้อทันที
ลองหยุดซักนิด ย้อนกลับมาคิดซักหน่อยว่าเร
ถ้ามองโลกในแง่ดี เซียนเขาจิตใจดีปานเทพ วิเคราะห์พื้นฐาน เทคนิค โหราศาสตร์แล้วก็มาบอกนักลง
ถ้ามองแบบกลางๆ เซียนเขามีน้ำใจซื้อแล้วบอก
ถ้ามองโลกในแง่ร้าย เซียนเขาเก็บของครบแล้ว ไล่ราคาแล้ว บอกรายย่อยมาช่วยกันรับเยอะ
แต่ไม่ว่าจะมองโลกในแง่ไหน ผมแน่ใจ 100% ว่าเซียนที่บอกโพยคุณเขาซื้
ผมก็ไม่รู้ว่าตลาดหุ้นจะเป็
Social Media ในปัจจุบันมันมีหลากหลายและ
"ใครใคร่ค้าม้าค้า ใครใคร่ค้าช้างค้า" ประโยคเด็ดสมัยพ่อขุนรามคำแ
คำแนะนำเป็นของเขา การตัดสินใจและเงินเป็นของท
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)